การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

ณัฐพงศ์ อิ่มใจ
นิวัตต์ น้อยมณี
อัศวิน เสนีชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 2) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 3) ศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 361 คน ซึ่งได้มาจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของแครซี่และมอร์แกน และดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาพรวมอยู่อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.29, SD = .55) 2) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษามีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูงมาก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันอยู่ระหว่าง .650 – .806 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และไม่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กันเองสูง หรือ Multi collinearity มีค่าสถิติ Tolerance ระหว่าง .19 - .44 และค่าสถิติ VIF อยู่ระหว่าง 4.15 - 7.84 และ 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ 0.701 แสดงว่า การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพยากรณ์การดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษาได้ร้อยละ 70.10 และผลการวิเคราะห์กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษามีจำนวน 3 ตัว ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์ (X3) การติดตามและควบคุมประเมินผล (X5) และการวิเคราะห์สภาพภายในและภายนอกองค์กร (X1) และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
ในรูปแบบคะแนนดิบ Y = .641 +.425(X3) + .367(X5) +. 221 (X1)
ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z = .480 (X3) + .365 (X5)+ .239 (X1)

Article Details

How to Cite
อิ่มใจ ณ. ., น้อยมณี น., & เสนีชัย อ. . (2024). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Education and Innovation, 26(3), 246–260. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/266054
บท
บทความวิจัย

References

Akaradejruangsri, S., & Siribanpitak, P. (2017). The Eco Schools Management Focus on Learning Outcomes towards Sustainable Development. Governance Journal, 6(2), 190-206.

Boonananwong, C. (2018). Model of Strategic Management of Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission (Doctoral dissertation). Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.

Certo, S. C., & Peter, P. J. (1991). Strategic Management a Focus on Process. New York: McGraw-Hill.

Cincera, J., & Krajhanzl, J. (2013). Eco-Schools: what factors influence pupils' action competence for pro-environmental behavior. Journal of Cleaner Production, 61, 117-121. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2013.06.030

Gan, D., Gal, A., Konczey, R., & Varga, A. (2019). Do eco-schools really help implementation of ESD?: A comparison between eco-school systems of Hungary and Israel. Hungarian Educational Research Journal, 9(4), 628-653. https://doi.org/10.1556/063.9.2019.4.53

Murdani, D., Hakim, A., & Yanuwiadi, B. (2018). Strategies of Regency Adiwiyata (Green) School Management at Secondary Education Level in Sintang Regency. Journal Pembangunan dan Alam Lestari, 9(2), 102 -110. https://doi.org/10.21776/ub.jpal.2018.009.02.07

Office of the Basic Education Commission. (2021). Standard Assessment Guide of Environmental Education school for Sustainable Development. Bangkok: Inter-Tech Printing.

Pawabut, C. (2012). A case study of 21st century education: A new paradigm in education. Sakon Nakhon: Sakonnakhon Rajabhat University.

Phramahakosin Tinnayano. (2021). Strategic Management Process of Educational Institution. MBU Roi Et Journal of Global Education Review, 1(1), 35-46.

Pooknngchai, A. (2014). The Relationship of Academic Leadership and Strategic Management of School Administrators under the department of local Government, Pathum Thani Province (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Sararattana, W. (2013). A case study of 21st century education: A new paradigm in education. Bangkok: Thipayawisuth Limited Partnership.

Saritvanich, S. (2010). Strategic management: Concepts and theories (3th ed). Bangkok: Thammasat University.

Sukwanich, T., & Arannakan, P. (2014). Strategic management. Bangkok: Triple Education Company.

Suwathanpornkul, I. (2019). Educational Research: Concepts and Applications. Bangkok: Department of Educational Measurement and Research Faculty Education Srinakharinwirot University.

The Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2. (2021). Self assessment report (SAR) Retrieved September 30, 2022, from https://www.sesao2.go.th

Willy Sleurs. (2005). A Comparative Study on ECO-school development processes in 13 countries ECO-schools: trends and divergences. Retrieved May 3, 2022, from https://www.academia.edu/65970755/A_Comparative_Study_on_ECO