การพัฒนารูปแบบบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

ศรัณย์ เปรมสุข
อนุชา กอนพ่วง
รัตนะ บัวสนธ์
ปกรณ์ ประจันบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวิธีการดำเนินวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จากเอกสารรายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนปี 2563–2565 และผู้ที่เกี่ยวข้องจากโรงเรียนพหุกรณีศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 5 โรงเรียน รวม 15 คน 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 9 คน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาส 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา โดยผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลอง จำนวน 43 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง แบบประเมินความถูกต้อง ครอบคลุมและเหมาะสม แบบประเมินทักษะผู้นำวงสนทนา แบบสะท้อนผลการดำเนินการตามขั้นตอน แบบประเมินคุณภาพนักเรียน แบบสอบถามประเด็นเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เกิดจากปัจจัยภายในเป็นพฤติกรรมเชิงลบของนักเรียน รองลงมาเป็นปัญหาจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัวนักเรียน และแนวทางการบริหารส่วนใหญ่ใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) 2) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ ทิศทางของรูปแบบระบบและกลไกของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ ผลลัพธ์ของรูปแบบ และเงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวมของ KPIs นักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน หลังการใช้รูปแบบมีการเปลี่ยนแปลงจากก่อนทดลองใช้ โดยมีค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) อยู่ระหว่าง 0.28 - 1.23 และ 4) ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบมีมาตรฐานด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน

Article Details

How to Cite
เปรมสุข ศ., กอนพ่วง อ. ., บัวสนธ์ ร. ., & ประจันบาน ป. . (2024). การพัฒนารูปแบบบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 26(1), 303–320. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/269533
บท
บทความวิจัย

References

Hattie, J. (1981). A Four-Stage Factor Analytic Approach to Studying Behavioral Domains. Applied Psychological Measurement, 5(1), 77–88. https://doi.org/10.1177/014662168100500112

Kajoinkeatpadung, Y. (2020). Legal problems regarding decentralization of school. Journal of Panna Panithan, 5(1), 255 - 268.

Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Kim, C. W., & Mauborgne, R. (2005). Blue ocean strategy: How to create uncontested market space and make the competition irrelevant. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Kopatta,S., Poovatanakul, V., Wattananarong, A., & Meekhun, K. (2021). Learner Quality Students Support System Administration in Schools. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 371-387.

Leeraphan, L., & Sumettikoon, P. (2015). Strategies for the management of student support system in Krathumbaen Wiset Samuttakhun School, Samutsakhon Province. An Online Journal of Education, 10(3), 400-414.

Manketvit, S. (2014). Developing a participatory strategic management model for schools that manage joint learning (Doctoral dissertation). Maha Sarakham: Mahasarakham University.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (2001). Research in Education: A Conceptual Introduction (5th ed.). New York: Longman.

Ministry of Education. (2019). National Education Act, B.E. 2542 (1999), Amendment No.4 B.E. 2562 (2019). Bangkok: Express Transport Organization (ETO).

Office of the Basic Education Commission. (2016). The development of student care system. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Panich, V. (2020). A body of knowledge about developmental evaluation (DE). In Document for Coach Meeting and coaching guidelines (October 26-27, 2020). Bangkok: Amari Don Muang Airport.

Panpeng, Y. (2022). The developmental evaluation or DE is up stream to develop school goals. Journal of Interdisciplinary Social Sciences and Communication, 5(2),5-12.

Premsuk, S., Kornpuang, A., Buosonte, R., & Prachanban, P. (2023). Applying developmental evaluation with technique of blue ocean strategy for increasing efficiency of strategic management. Journal of Education Naresuan University, 25(4), 362–372.

Promsagn, N., & Chanetiyong, D. (2015). The model of moral establishing to the primary school students for a Good Thai Citizen. Parichart Journal, 28(1), 31-32.

Seributr, N. (2021). Learning Loss that must be urgently corrected in view of CEO Starfish Education. Retrieved October 20, 2021 from www.starfishlabz.com/blog/601-ภาวะความรู้ถดถอย-learning-loss-ที่ต้องเร่งแก้ไขในมุมมองของ-ceo-starfish-education

Sritrakul, A. (2013). The development of student care system management model in schools under the Primary Educational Service Area Office (Doctoral dissertation). Phitsanulok: Naresuan University.

United Nations. (2023). Sustainable development goals in Thailand: Quality education. Retrieved April 20, 2023, from https://thailand.un.org/th/sdgs/4

Wisitchotiankun, C. (2012). Coach who creates learning power. Bankok: n.p.