การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสุขในการทำงานด้วยสุนทรียสาธก สำหรับบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

กาญจนมาโนชญ์ ขุนกอง
อมรรตัน์ วัฒนาธร

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสุขในการทำงานด้วยสุนทรียสาธกสำหรับบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการที่มีต่อความสุขในการทำงาน จากผลการวิจัย ความต้องการที่มีต่อความสุขในการทำงาน พบว่า นิยามความสุขในการทำงาน คือ การสำรวจตนเองให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน และค้นหาจุดแข็งขององค์กรที่เอื้อต่อความสุขในการทำงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน มี 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยระหว่างบุคคล และ 3) ปัจจัยทางสังคม องค์กร และงาน นำมากำหนดกรอบ และเนื้อหาสาระของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพ ของหลักสูตรเสริมสร้างความสุขในการทำงานด้วยสุนทรียสาธก ยกร่างหลักสูตร และคู่มือการใช้หลักสูตร ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า ความเหมาะสมของหลักสูตร \bar{x}= 4.61, S.D.= 0.11 และคู่มือการใช้หลักสูตร \bar{x}= 4.59, S.D. = 0.20 อยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ ผลการทดลองนำร่องนำมาปรับปรุงเนื้อหา สื่อและกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการทดลองใช้หลักสูตร พบว่ามีระดับความสุขอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยส่วนบุคคล \bar{x}= 3.63, S.D.=0.10 ด้านปัจจัยระหว่างบุคคล \bar{x}= 3.66, S.D. = 0.08 ด้านปัจจัยทางสังคม องค์กร และงาน \bar{x}= 3.72, S.D.=0.12 หลังการทดลอง  พบว่า มีระดับความสุขอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยส่วนบุคคล \bar{x}= 4.24, S.D.= 0.11 ด้านปัจจัยระหว่างบุคคล \bar{x}= 4.37, S.D. = 0.11 ด้านปัจจัยทางสังคม องค์กร และงาน \bar{x}= 4.21, S.D.= 0.08 แสดงว่า คุณภาพหลักสูตร มีผลต่อการเสริมสร้างความสุขในการทำงาน ขั้นที่ตอน 4 การประเมินหลักสูตร พบว่า หลักสูตรมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร ผลการเรียนรู้ คือ 1) การรู้จักตนเองในมุมมองใหม่ 2) การกำหนดอนาคตของตนเอง และองค์กรร่วมกับผู้อื่น 3) การสร้างพลังบวก ผลการปฏิบัติงานที่เด่นชัด ปรากฏเป็นผลสำเร็จ คือการกำหนดค่านิยมขององค์กรขึ้นใหม่ คือ GIVE: การเป็นผู้ให้ ได้แก่ ยึดมั่นธรรมาภิบาล สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ร่วมใจทำงาน บริการเป็นเลิศ

THE DEVELOPMENT OF CURRICULUM TO ENHANCE HAPPINESS AT WORKPLACE USING APPRECIATIVE INQUIRY FOR PERSONNEL OF THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

The purpose of this research was to develop a curriculum to enhance the happiness at workplaces using appreciative inquiry for personnel of The Secondary Educational Area Office. The four steps of the research and development were: Step 1: Study the needs of happiness at workplaces; it was found that the definition of happiness at workplaces was self-exploration for working readiness and organization strengths supporting happiness when working. Factors affecting the happiness at workplace were: 1) individual factors, 2) interpersonal factors, and 3) social factors, organization and tasks. These were used to guide the curriculum framework and content. Step 2: Construct and verify the quality of curriculum; the evaluation of the curriculum and curriculum guidelines by experts found     \bar{x}=4.61, S.D.=0.11 and \bar{x}=4.59, S.D.=0.20, respectively. The results of a pilot study were used to improve the learning content, materials and activities appropriate to the sample. Step 3: Implement the curriculum; the views of the sample of the three factors before the experiment were: individual factors \bar{x}=3.63, S.D.=0.10; interpersonal factors \bar{x}= 3.66, S.D.=0.08 and the social organization and work \bar{x}=3.72, S.D.= 0.12. After the experiment, the three factors were at a higher level of happiness; individual factors \bar{x}= 4.24, S.D.= 0.11; interpersonal factors \bar{x}= 4.37, S.D.= 0.11 and the social organization and work \bar{x}= 4.21, S.D.=0.08. This shows that the quality of the curriculum affects the happiness at workplaces. Step 4: Evaluate the curriculum; it was found that the curriculum is qualified to achieve the goals of the curriculum. Learning results of the curriculum were 1) self-knowing with new perspectives, 2) co-determining of the self and the organization, and 3) building up positive values. The working outcomes were out-standing with success: the formulation of the new value for the organization and "GIVE" acting as the giver including good governance, innovation, the value of teamwork and excellent services.

Article Details

How to Cite
ขุนกอง ก., & วัฒนาธร อ. (2016). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสุขในการทำงานด้วยสุนทรียสาธก สำหรับบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 18(4), 1–13. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70943
Section
Research Articles