การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการเสริมศักยภาพที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียน เพื่อการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการเสริมศักยภาพที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน และ 2) ขั้นใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลสวรรคโลกประชาสรรค์ สังกัดเทศบาลเมืองสวรรคโลก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนเพื่อการสื่อสารเป็นแบบเลือกตอบมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .22 - .73 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และแบบทดสอบวัดทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารเป็นแบบทดสอบแบบเขียนตอบมีมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .21 - .25 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการเสริมศักยภาพที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า PACPRAA Model มีกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation: P) 2) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis: A) 3) ขั้นสร้างชิ้นงาน (Creation: C) 4) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation: P) 5) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection: R) 6) ขั้นเรียบเรียงเรื่องใหม่ (Arrangement: A) 7) ขั้นประเมินผล (Assessment: A) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.26, S.D. = 0.21) และมีค่าดัชนีประสิทธิผลร้อยละ 63.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 50
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) นักเรียนมีพัฒนาการทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการเสริมศักยภาพที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในทุกประเด็นของการประเมิน และนักเรียนมีทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) นักเรียนมีทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON COLLABORATIVE LEARNING WITH SCAFFOLDING TO ENHANCE THAI COMMUNICATIVE WRITING ABILITY FOR PRATHOMSUKSA IV STUDENTS
The purpose of this research was to develop the instructional model based on collaborative learning with scaffolding to enhance Thai Communicative Writing ability for Prathomsuksa IV students. The research procedure comprised of research and development. There were 2 steps as follow; 1) to develop and verify quality of the instructional model, 2) to implement the instructional model. The samples used for the experiment were 40 students in SawankhalokPrachasan Municipal School of MueangSawankhalok Municipality. In the 2nd semester of the 2013 academic year. The research instruments were a multiple-choice test of Achievement test in Thai Communicative writing. The test was qualified with discriminating ranging .22 - .73 and reliability was .92. The assay-writing test of Thai Communicative Writing was qualified with discriminating ranging .21 - .25 and reliability was .91. The statistical data analyses are percentage, mean, S.D., t-test dependent samples and t-test one samples.
The results of the research were as follows;
1. The developed model is called PACPRAA Model consisted of Preparation: P, Analysis: A, Creation: C, Presentation: P, Reflection: R, Arrangement: A, and Assessment: A. The appropriateness of the model was found at high level (= 4.26, S.D. = 0.21). The effectiveness index (E.I.) was found 63.08 higher than 50 percent minimum criteria.
2. The effect of implementation was; 1) the students had achievement score of Thai Communicative Writing after learned with the developed model higher than before at the .01 level of statistical significance. 2) The students had achievement score of Thai Communicative Writing after learned through the developed model higher than 70 percent criterion at the .01 level of statistical significance. 3) The students had a development of Thai Communicative Writing abilities in all assess aspects and had abilities of Thai Communicative Writing after learned with the developed model higher than before at the .01 level of statistical significance. 4) The students had abilities of Thai Communicative Writing after learned through the developed model higher than 70 percent criterion at the .01 level of statistical significance.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.