การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ที่เรียนรายวิชาบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมจากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น QSCCS, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Independent t – test และการสรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา พบว่า 1) นิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) พฤติกรรมการใช้กิจกรรมการเรียนรู้กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น QSCCS ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (=2.85,
= .09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Learn to Search: S) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.00, = .00) ด้านการสร้างองค์ความรู้ (Learn to Construct: C) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=2.88, = .14) ด้านการสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Learn to Communicate: C) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=2.92, = .13) ด้านการบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Learn to Serve: S) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.00, = .00) และด้านการตั้งคำถาม (Learn to Question: Q) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.46, = .37)
ผลการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) รายวิชาบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (= 4.21, = .47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับ 3 ลำดับแรก พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง (=4.67, = .82) รองลงมามี 3 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ กิจกรรมการเรียนโดยใช้ SCCS ช่วยสร้างบรรยากาศสำหรับส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (= 4.50, = .55) การใช้กิจกรรม QSCCS ช่วยให้บรรยากาศในการเรียนเป็นกันเองมากยิ่งขึ้น (= 4.50, = .84) และกิจกรรมการเรียนโดยใช้ QSCCS ช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และทัศนคติระหว่างเพื่อน (= 4.50, = .55)
ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคม มาเป็นเครื่องมือในขั้นตอนต่างของการเรียนการสอน พบว่า เกิดประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยให้ประหยัดทรัพยากรสิ้นเปลือง เช่น กระดาษ และค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ เช่น การเดินทาง การซื้ออุปกรณ์ และซอฟท์แวร์
2. ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นในด้านการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีฐานข้อมูลกว้าง และทำการจัดการข้อมูลนั้นได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดเก็บ การแบ่งปันไปยังเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ การเรียกใช้ข้อมูลบนเครือข่ายแบบออนไลน์ และการค้นหาข้อมูลที่เก็บไว้ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสะดวก
3. สนับสนุนการทำงานร่วมกัน โดยข้ามข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา เนื่องจากใช้บริการที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งรองรับการทำงานบนสมาร์ทโฟน ทำให้ทำงานร่วมกันได้แม้จะอยู่คนละสถานที่ นอกจากนี้ยังเอื้ออำนวยให้นิสิตสามารถทำกิจกรรมการเรียนได้ในช่วงเวลาที่สะดวก ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนสามารถให้คำแนะนำกับผู้เรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น และทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีความน่าสนใจ
STUDYING OF 5-STEP LEARNING PROCESS (QSCCS) FOR MASTER’S DEGREE STUDENTS IN EDUCATIONAL TECHNOLOGY AND COMMUNICATIONS PROGRAM, FACULTY OF EDUCATION, NARESUAN UNIVERSITY
The objectives of this research were: 1) to study QSCCS activities performed by graduate students of Educational Technology and Communications program, Faculty of Education, and 2) to study the opinions of the students concerning the QSCCS activities. The sample consisted of six graduate students of Educational Technology and Communications program, Faculty of Education, who attended the subject of Integrated Technology for Learning Management course in academic year of 2014. Data was collected by using an assessment of behavior of the students concerning QSCCS activities, an assessment of achievement of students concerning QSCCS activity, and a questionnaire asking the students for their opinions concerning QSCCS activities. The data was analyzed to find percentage, mean, standard deviation, t-test statistics, independent t-test, and conclusion of problems and suggestions.
The results of the study show that: 1) graduate students of Educational Technology and Communications program, who attended the subject of Integrated Technology for Learning Management, had higher achievement than before with a statistical significance of .05, and
2) the overview of behaviors of implementing QSCCS activities was rated as “high”
(=2.85, = .09). Considering all the aspects: S, Learn to Search, the overview was rated as “high”; C, Learn to Construct, the overview was rated as “high” (=2.88, = .14); C, Learn to Communicate, the overview was rated as “high” (=2.92, = .13); S, Learn to Serve, the overview was rated as “high” (=3.00, = .00); and Q, Learn to Question, the overview was rated as “moderate” (=2.46, = .37).
The opinions of graduate students of Educational Technology and Communications program, who attended the subject of Integrated Technology for Learning Management, concerning QSCCS activities, the overall questions were “mostly agreed” on (= 4.21, = .47). Once considered all aspects: (1) the first three aspects showed that the aspect that met the highest mean was the one that allowed students to learn on their own (=4.67, = .82); (2) following by the three aspects that showed the same mean: implementing QSCCS activity helped creating the environment of learning exchange (= 4.50, = .55); implementing QSCCS activity encouraged a more friendly learning environment (=4.50,
= .84); and QSCCS activity supported an environment that friends would encourage the exchange of experiences, knowledge, and attitudes (= 4.50, = .55);
Suggestions of the 5-Step Learning Process (QSCCS) using communication technology, for example, internet and social networks, as learning tools were as follows:
1. Limit the usage of some resources, for example, paper. Also decrease other costs, for example, transportation cost, software cost, and equipment cost;
2. Easy for researching data and information on the Internet which has many data sources; students managed data easily, for example, saving, sharing with other students and the lecturer, browsing data online in real time, and searching saved data. This was all done very fast and easily.
3. Support students to work together by ignoring the limit of time and place because of using Internet services. It works on smartphone that helps student work together even if they are not at the same place. It also helps students do learning activities at any time they want.
4. Support learning and teaching to be more effective and let lecturer and students get close to each other making learning activities more interesting.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.