รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล

Main Article Content

บุญเพิ่ม สอนภักดี
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
สุกัญญา แช่มช้อย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและแนวทางเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล โดยการศึกษาและสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน และการประชุมกลุ่ม จำนวน 3 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนา การจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาล 247 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 องค์คณะบุคคลเครือข่ายความร่วมมือ องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายและภารกิจเครือข่ายความร่วมมือ องค์ประกอบที่ 3 แนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และองค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารของเครือข่ายความร่วมมือ โดยผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาล มีความเห็นว่ารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

MODEL OF A COLLABORATION NETWORK FOR THE DEVELOPMENT OF EDUCATIONAL MANAGEMENT OF MUNICIPAL SCHOOLS

The objective of this research was to develop to establish a model of a collaboration network designed for educational management at municipal schools. The research procedures consisted of three steps; the first step was to study the state and the guidelines of collaboration networks for educational management of municipal schools by document analysis and subsequent synthesis. Information was gathered from nine experts by interviews and from meetings with teachers of three municipal schools. The second step was to construct the model of a collaboration network for educational management of municipal schools by drafting a tentative model based on the research findings from Step 1. The model was validated in group discussions with nine experts. The third step was to evaluate the model. The sample consisted of 247 persons, who were teachers and administrators in municipal schools. The data was analyzed using Mean and Standard Deviation. The research results are as follows: the model of the collaboration network for education management of municipal schools consists of four components: 1) the collaboration network committee,
2) participation in educational management of municipal schools, 3) guidelines for lifelong education, and 4) the administrative process of the collaboration network, which has been validated by the administrators at municipal schools as suitable at a high level and at the highest advantage.

Article Details

How to Cite
สอนภักดี บ., ชาตรูประชีวิน ฉ., & แช่มช้อย ส. (2016). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล. Journal of Education and Innovation, 18(4), 99–113. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70960
Section
Research Articles