การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง 2) การสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ในการนำรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูงไปใช้ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของเครือข่าย ประกอบด้วย หลักการมีส่วนร่วม หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล และหลักความรับผิดชอบ 2) ลักษณะของเครือข่าย 3) คณะกรรมการบริหารเครือข่าย ประกอบด้วย คณะกรรมการระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บทบาทหน้าที่คณะกรรมการระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา คณะกรรมการระดับกลุ่มเครือข่าย และบทบาทหน้าที่คณะกรรมการระดับกลุ่มเครือข่าย 4) ขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ประกอบด้วย ความร่วมมือในการใช้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ความร่วมมือในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ความร่วมมือการจัดการเรียนรู้และ ความร่วมมือการใช้แหล่งเรียนรู้ และ 5) กระบวนการบริหารเครือข่าย ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การประสานงาน การดำเนินงาน และการปรับปรุง โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นสูง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่ารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนพื้นที่สูงมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
ADMINISTRATIVE NETWORK MODEL FOR ACADEMIC COLLABORATION OF SCHOOLS IN REMOTE HILANDER AREAS
The research aimed at developing administration network model for academic collaboration of school in remote highland Area. The research procedure followed 3 steps:
1) Surveying contexts and ways of administrate the network model for academic collaboration of school in remote highland Area through related document analysis and interviewing 8 experts by using semi-structured interview, 2) drafting the developing administration network model for academic collaboration of school in remote highland Area based on the data obtained from step 1. Validating the model through group discussion of 10 experts, and 3) evaluating the drafted model for its feasibility by 60 school directors to analyze data by mean and standard deviation. The research found: The administration network model for academic collaboration of school in remote highland Area consisted 5 contents: 1) the context of network consisted : co-operation, performance, effectiveness, responsibility, 2) the type of network, 3) The committee of network consisted : the committee of primary office service area, the role of the committee of primary office service area, the committee of network, the role of the committee of network, 4) The network of academic cooperative consisted: the cooperation of teacher and stakeholder, the cooperation of improve teacher and stakeholder, the cooperative in improve a local based curriculum, the cooperative in using wisdom place, and 5) The process of administrate network consisted: the improvement. Process of administration network model for academic collaboration of school in remote highland area. In validating the model, the experts concurred in their opinions that the model is highly appropriate.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.