การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู

Main Article Content

กวีภัทร ฉาวชาวนา
ปกรณ์ ประจันบาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนาตัวชี้วัดเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 8 ท่าน และผู้บริหารหรือศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 375 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการจัดการห้องเรียน ในศตวรรษที่ 21 ของครู
มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย
พบว่า องค์ประกอบและตัวชี้วัดทักษะการจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู มี 6 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะการสื่อสาร ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ทักษะการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้เป็นทีม ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ทักษะการจัดบรรยากาศในห้องเรียน ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการส่งเสริมความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตย ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 ทักษะการจัดการข้อมูลสารเทศของนักเรียน ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 6 ทักษะการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาของนักเรียน ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบมีความตรงเชิงโครงสร้างและมีน้ำหนักความสำคัญเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะการจัดบรรยากาศในห้องเรียน ทักษะการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้เป็นทีม ทักษะการส่งเสริมความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตย ทักษะการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาของนักเรียน ทักษะการจัดการข้อมูลสารเทศของนักเรียน และทักษะการสื่อสาร

THE DEVELOPMENT OF TEACHER CLASSROOM MANAGEMENT SKILLS INDICATORS IN THE 21st CENTURY

The purpose of this research was to develop indicators of teacher classroom management skills in the 21st century. The teacher classroom management skills indicators data were to obtained from a higher in faculty of education instructors 8 experts and administrator or educational supervisor 3 experts. The research was conducted through multi-stage random sampling which the sample groups of the study were 375 teachers of the secondary educational service area office 39 and Phitsanulok primary educational service area office 1. The tools used for collecting data consisted of the 5 rating scale questionnaires. The SPSS was used to analyze statistic process of the frequency distributions, median, interquartile range, percentage, mean, standard deviation and coefficient of correlation by statistical package and second - order confirmatory factor analysis by LISREL program. The results of this research found there were 6 factors and 25 indicators of teacher classroom management skills in the 21st century. The First factors: communication skills had 6 indicators. The second factors: skills to self-directed learning and team learning had 6 indicators. The third factors: creating physical classroom environment skills had 3 indicators. The fourth factors: citizenship and democracy skills had 4 indicators. The fifth factors: student information management skills had 2 indicators and the last factors: school counseling skills had 4 indicators. The construct validity of the test sorted by the technique of factors analysis and important weight respectively creating physical classroom environment skills, skills to self-directed learning and team learning, citizenship and democracy skills, school counseling skills, student information management skills and communication skills.

Article Details

How to Cite
ฉาวชาวนา ก., & ประจันบาน ป. (2016). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู. Journal of Education and Innovation, 18(4), 197–209. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70972
Section
Research Articles