การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกัน

Main Article Content

ไพฑูรย์ มูลทา
น้อย เนียมสา

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกัน จำนวน 120 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2557 ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนแบบแบ่งชั้น การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า ประกอบด้วย 3 ด้าน คือด้านการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 ข้อ การรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์จำนวน 10 ข้อ และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้  F-test (Two-way MANOVA และ ANOVA) ผลการศึกษา พบว่า  ครูวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ระดับมากถึงมากที่สุดมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 66.67 ของครูวิทยาศาสตร์ทั้งหมด  ครูวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ระดับมากถึงมากที่สุดมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 86.67 ของครูวิทยาศาสตร์ทั้งหมด และครูวิทยาศาสตร์ที่มีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์ในระดับเห็นด้วยมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 88.10 ของจำนวนครูวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน ส่วนครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกันมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์น้อยกว่าครูกลุ่มอื่น ครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกันมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน โดยครูวิทยาศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์มากกว่าครูวิทยาศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และครูวิทยาศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการรับรู้ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์น้อยกว่าครูกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียนและระดับที่สอนเฉพาะต่อการรับรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์และการรับรู้ปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์

THE NATURE OF SCIENCE AND THE PHILOSOPHY OF SCIENCE AS PERCEIVED BY JUNIOR AND SENIOR HIGH SCHOOL SCIENCE TEACHERS WORKING AT SCHOOLS OF DIFFERENT SIZE

This research aimed to study and compare perceptions of the nature of science, misperceptions of the nature of science and perceptions of the nature of philosophy of science as perceived by 120 junior high school and senior high school science teachers working at schools of different size under the Office of Secondary Education Service Area, Zone 26, in MahaSarakham Province in 2014. The sample was selected using the multi-stage stratified random sampling technique. The rating-scale questionnaire was used for data collection which consisted of three subscales: perceptions of the nature of science, with 35 items, misperceptions of the nature of science with 10 items, and perceptions of the philosophy of science with 20 items. The collected data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and for testing hypotheses the F-test (Two-way MANOVA and ANOVA) was employed. The findings reveal that the awareness level of most science teachers regarding the nature of science does not exceed 66.67 percent. Science teacher showed perceptions of the philosophy of science at a high level and most not exceeding 86.67 percent. In addition, science teacher indicated less misperceptions of the nature of science degree at an amount not exceeding 88.10 percent of all science teachers. Junior high and senior high science teachers did not show different perceptions of the nature of science and perceptions of the philosophy of science. For science teachers working at schools with different size the perception of the nature of science and the philosophy of science was different. For science teachers working at very large schools, the perception of the philosophy of science and the nature of science teachers was lower than for other groups. In addition, for science teachers teaching junior high school classes and senior high school classes of different size established different misperceptions of the nature of science. The science teachers at senior high schools indicated less misperceptions of the nature of science than the science teachers at junior high schools. The science teachers working at very large sized schools indicated less misperceptions of the nature of science than the other group of science teachers. The interactions of two independent variables only on perceptions of the nature of science and perceptions of the philosophy of science were found to be significant.

Article Details

How to Cite
มูลทา ไ., & เนียมสา น. (2016). การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกัน. Journal of Education and Innovation, 18(4), 251–265. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70979
Section
Research Articles