ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI) กับเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้เวลาในการทำวิจัยจำนวน 14 ชั่วโมง จำแนกเป็นดำเนินการสอน 12 ชั่วโมง และเป็นการทดสอบ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด จำนวน 5 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.891 วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ t-test แบบ one sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) สูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) สูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
THE EFFECTS OF COGNITIVELY GUIDED INSTRUCTION ACTIVITIES FOR
GRADE 11 STUDENTS ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING AND REASONING ABILITY FOR PROBABILITY
The purposes of this research were to compare the mathematical problem solving and reasoning ability on probability of grade 11 students after using cognitively guided instruction activity with criterion of 70 %. The design of the research was a one-group posttest-only design. The subjects of this study were 32 grade 11 students in the second semester of the 2014 Academic Year at Piboonbumpen Demonstration School, Chonburi. They were randomly selected by using cluster random sampling. The experiment lasted for 14 hours, 12 hours devoted to teaching and 2 hours for posttest. The instruments used in study were the five lesson plans and the mathematical problem solving and reasoning ability test with reliability of 0.891. The data were statistically analyzed by using t-test for one sample. The results show that:
1. Mathematical problem solving ability was higher than the criterion of 70% at the .05 level of significance.
2. Mathematical reasoning ability was higher than the criterion of 70% at the .05 level of significance.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.