การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ฤดีรัตน์ แป้งหอม
สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราสมุทรภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน เลือกมาโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาสังคมศึกษา แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาสังคมศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า
     1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2) เท่ากับ 83.20/81.27
     2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาสังคมศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     4. เจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา มีเจตคติในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง

CONSTRUCTION OF LEARNING PACKAGES USING A PROBLEM-BASED APPROACH RELATING GEOGRAPHICAL PHENOMENA FOR MATTHAYOMSUKSA IV STUDENTS

The purposes of this study were; 1) to construct learning packages using problem-based approach in geographical phenomenon for Matthayomsuksa 4 students meeting the standard criterion of 80/80, 2) to compare the learning achievements before and after using the learning packages, 3) to compare analytical thinking abilities before and after using the learning packages, 4) to study students' attitude towards social studies learning. Cluster random sampling was used to select 50 students from Matthayomsuksa 4 students at Darasamutr School in Semester 2 of the Academic Year 2014. The research instruments were the learning packages, the lesson plans, achievement test, analytical thinking abilities test relating geographical phenomena and the attitudes test applying mean, percentage, standard deviation and t-test dependent. The results reveal that:
     1. The learning packages have an efficiency of (E1 / E2) = 83.20/81.27
     2. The learning achievements by the students in the post-test were higher than in the pretest with statistical significance of .05
     3. The analytical thinking abilities of the student in the posttest were higher than in the pretest with statistical significance of .05
     4. The attitudes toward social studies learning toward social studies learning was at "strongly agree".

Article Details

How to Cite
แป้งหอม ฤ., ศรีแสนยงค์ ส., & ธีระวณิชตระกูล ส. (2016). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education and Innovation, 18(4), 278–293. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70981
Section
Research Articles