การพัฒนาสื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

วราภรณ์ แก้วผ่อง
สุภาณี เส็งศรี
บุหงา วชิระศักดิ์มงคล
สุวิทย์ บึงบัว

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่มและโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร ตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาผลการเรียนรู้หลังการใช้สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสุโขทัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ E_1/E_2=80/80  และค่า t - test (แบบ Dependent) ผลการวิจัย พบว่า
     1. สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.25/81.50 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
     2. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แก้วผ่อง ว., เส็งศรี ส., วชิระศักดิ์มงคล บ., & บึงบัว ส. (2016). การพัฒนาสื่อทัศนศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education and Innovation, 18(4), 294–307. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70983
Section
Research Articles