โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 699 คน จาก 43 ห้องเรียน จาก 43 โรงเรียนได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ แบบสอบถามคุณภาพการสอนของครู แบบสอบถามบรรยากาศในชั้นเรียน และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (The Multilevel Structural Equation Model: MSEM) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ พบว่าโมเดลการวัดพหุระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับสูงและสามารถวัดได้ทั้งระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 2= 0.567, df = 2, 2/df = 0.2835, p-value= 0.7532, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000 TLI = 1.008, SRMRW = 0.001, SRMRB = 0.035 และตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวมีค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) มากกว่า 0.05 แสดงว่าตัวแปรที่สังเกตได้มีความผันแปรทั้งในระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน จึงเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์พหุระดับ
2. ผลการวิเคราะห์พบว่าโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับค่อนข้างมาก และสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ทั้งในระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 2= 104.552, df = 135, p = 0.9757, CFI = 1.000, TLI = 1.011, RMSEA = 0.000, SRMRW = 0.026, SRMRB = 0.047 และ 2/df = 0.774 ตัวแปรระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อัตมโนทัศน์ และความเชื่อมั่นในตนเอง โดยขนาดอิทธิพลรวมมีค่าเท่ากับ 0.471, 0.411, 0.216 และ 0.033 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรระดับชั้นเรียนที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ บรรยากาศในชั้นเรียน และคุณภาพการสอนของครู โดยขนาดอิทธิพลรวมมีค่าเท่ากับ 0.500 และ 0.375 ตามลำดับ ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับนักเรียนและระดับชั้นเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 54.50 และ 27.20
THE MULTI-LEVEL STRUCTURAL EQUATION MODEL OF FACTOR INFLUENCING ENGLISH LEARNING ACHIEVEMENT OF PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS UNDER NONGBUALUMPHU PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
This research aimed to analyze multi-level confirmatory factor, factor influencing English learning achievement of Prathomsuksa 6 students under the Nongbualamphu Primary Educational Service Area Office 1 and to develop and test the validity of a multi-level structural equation model of factors influencing English learning achievement of said students. The sample consisted of 699 students from 43 classrooms of 43 schools in the Academic Year 2014, obtained using the multi-stage random sampling technique. The instruments used in the study were: a scale on self-concept, a scale on achievement motivation, a scale on self-confidence, a scale on attitude, a scale of teaching quality by teachers, a scale of atmospheres in the classroom and an English learning achievement test. The collected data were analyzed using descriptive statistics, multiple correlation coefficient analysis, confirmatory factor analysis, multi-level confirmatory analysis, and multi-level structural equation model analysis. The results of the study were as follows:
1. The model of measuring multi-level English learning achievement showed construct validity congruence with empirical data at a high level and could measure at the levels of students and classrooms, which were in accordance with the researchers' established hypothesis. They were considered from indices used for checking the validity of the model: 2 = 0.567, df = 2, 2/df = 0.2835, p-value= 0.7532, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000 TLI = 1.008, SRMRW = 0.001, and SRMRB = 0.035. All of the noticeable variables have in class correlation higher than 0.05, showing that the noticeable variables had variances at the student and classroom levels to be appropriate for analyzing multi-levels.
2. The English learning achievement multi-level structural equation model showed a constructed validity or was in congruence with the empirical data at a rather high level and show causal relationship at the student and classroom levels with the researcher-established hypothesis. They were considered from indices used for checking validity of the model: 2 = 104.552, df = 135, p = 0.9757, CFI = 1.000, TLI = 1.011, RMSEA = 0.000, SRMRW = 0.026, SRMRB = 0.047 and 2/df = 0.774. The student variables significantly affecting English learning achievement included: attitude, achievement motivation, self-concept and self-confidence with total effect sizes of 0.471, 0.411, 0.370 and 0.033, respectively. In addition, the variables at the classroom level significantly affecting English learning achievement included atmosphere in the classroom and teaching quality of the teacher with total effect sizes of 0.500 and 0.375, respectively. The set of variables predicting at the students and classroom levels explain variance of English learning achievement (r2) at 54.50 percent and 27.20 percent, respectively.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.