การสังเคราะห์กรอบแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผล บนสังคมคลาวด์ ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี

Main Article Content

Patamaporn Thaiposri
Pallop Piriyasurawong

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1) การสังเคราะห์กรอบแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ 2) การประเมินความเหมาะสมของกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง และผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 5 ท่าน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กรอบแนวคิด กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ และแบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิด มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1.1) การเรียนรู้แบบสืบเสาะ 1.2) เครือข่ายสังคม 1.3) การอ้างเหตุผล 1.4) คลาวด์คอมพิวติ้ง 1.5) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 2.1) ขั้นเตรียม 2.2) ขั้นเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E 2.3) ขั้นสะท้อนคิด 3) ผู้เชี่ยวชาญประเมินกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ แล้วมีความคิดเห็นว่า ในภาพรวมกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผลบนสังคมคลาวด์ฯ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้จริงในระดับมากที่สุด

SYNTHESIS OF CONCEPTUAL FRAMEWORK AND REASONABLE  INQUIRY-BASED LEARNING PROCESS ON SOCIAL CLOUD TO ENHANCE UNDERGRADUATE STUDENTS’ CRITICAL THINKING  

The purposes of this research study were: 1) to synthesize a conceptual framework and an inquiry-based learning process with a social cloud to enhance undergraduate students’ critical thinking and 2) to evaluate the appropriateness of the inquiry-based learning process with the social cloud. The research methodology was divided into two steps. The first step was to synthesize the conceptual framework and the learning process, and the second step was to evaluate the appropriateness of rational inquiry-based learning process with the social cloud. The samples in the research study consisted of five purposively selected experts in instructional design, inquiry-based learning, social networks, cloud computing and critical thinking. The research instruments included the conceptual framework, the learning process and the evaluation form regarding the appropriateness of the learning process. Data were analyzed using mean (\bar{x}) and standard deviation (S.D.). The research findings are as follows: 1) the conceptual framework consists of five components: 1.1) inquiry-based learning, 1.2) social network, 1.3) argument, 1.4) cloud computing and 1.5) critical thinking skills; 2) the learning process consists of three main steps: 2.1) the preparation step, 2.2) the learning step, and 2.3) the reflective thinking step; and 3) to sum up, the samples perceived that the learning process is appropriate and applicable to real practice.

Article Details

How to Cite
Thaiposri, P., & Piriyasurawong, P. (2017). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะเชิงเหตุผล บนสังคมคลาวด์ ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรี. Journal of Education and Innovation, 19(1), 38–49. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79072
Section
Research Articles