การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนารูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ทดลองใช้รูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างโมเดลองค์ประกอบและตัวชี้วัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าความเที่ยงขององค์ประกอบ (pc) ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่สกัดได้ (pv) ความเที่ยงของเครื่องมือประเมิน และสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 9 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มี 3 ตัวชี้วัด
2) การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างสิ่งดีงามต่อส่วนรวม มี 2 ตัวชี้วัด 3) ความรับผิดชอบดูแลรักษาสาธารณสมบัติ มี 2 ตัวชี้วัด และ 4) การเคารพสิทธิในการใช้สาธารณสมบัติร่วมกัน มี 2 ตัวชี้วัด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีความตรงเชิงโครงสร้าง ค่าความเที่ยงขององค์ประกอบ (pc) เท่ากับ .684-.872 และค่าเฉลี่ยความแปรปรวนที่สกัดได้ (pv) เท่ากับ .531-.774
2. รูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย
4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลย้อนกลับ และคุณภาพของรูปแบบ ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม ภาพรวมแต่ละองค์ประกอบ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ภาพรวมผลการประเมินจิตสาธารณะ 2 ครั้ง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของแบบการประเมิน ที่มีค่าสูงสุด คือ ผู้ประเมิน 4 คน ได้แก่ นักเรียน ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำวิชา เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ประเมิน 1 ครั้ง 2 ครั้ง และ 3 ครั้ง เท่ากับ 0.789, 0.830 และ 0.845 ตามลำดับ
4. ประสิทธิผลของรูปแบบการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
THE DEVELOPMENT OF DESIRABLE CHARACTER EVALUATION MODEL ON PUBLIC MIND OF THE LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS BY APPLYING GENERALIZABILITY THEORY
The research objectives were 1) to develop factors and indicators of desirable character on public mind of lower secondary school students, 2) to develop a corresponding evaluation model, 3) to implement the model by applying generalizability theory, and 4) to study the effectiveness of the evaluation model. The samples were students, teachers, students’ parents of schools under the Secondary Education Service Area 39. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, fitness index between model factor and indicators with the empirical data, the construct reliability of the factor (pc), the average variance extracted (pv), the reliability of the measurement tools and generalizability coefficients. The results are as follows:
1. Factors and indicators of desirable character on public mind of the lower secondary school students comprised four factors and nine indicators as follows: 1) helping others willingly without expecting something in return with three indicators, 2) attending the event to do good things for the public with two indicators, 3) the responsibility to maintain the public properties with two indicators, and 4) respecting for the right using public properties together with two indicators. The confirmatory factor analysis has found the construct validity, the construct reliability of the factor (pc) was .684 to .872 and average variance extracted (pv) was .531 to .774.
2. The desirable character evaluation model on public mind of the lower secondary school students comprised four factors which included 1) inputs, 2) process, 3) products and 4) feedback. The quality of the evaluation model found that the utility standard, the feasibility standard, the propriety standard, and the accuracy standard overall were at a very high level.
3. The results of the implementation by using the desirable character evaluation model on public mind of the lower secondary school students by applying generalizability theory overall were evaluated twice and found that it was at a good level and most of the generalizability coefficients were at a highest level assessed by four assessors: students, counselors or teachers, students’ friends and students’ parents. They were rated one time, two times and three times and the results were 0.789, 0.830 and 0.845 respectively.
4. The effectiveness of the desirable character evaluation model on public mind of lower secondary school students by applying generalizability theory found that the utility standard and the propriety standard overall were at a very high level.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.