ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

Pimjai Katkarn
Saponnapat Srisanyong
Somsiri Singlop

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยปราบ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) แบ่งเป็น 2 ขั้น คือ 1) การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 โรงเรียน สุ่มมา 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านห้วยปราบ ซึ่งมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ห้องเรียน 2) สุ่มห้องเรียนโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) มา 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 จำนวน 35 คน เพื่อทดลองใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้แบบแผนงานวิจัยการวิจัยเชิงทดลอง 1 กลุ่มที่มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

THE EFFECTS OF PROBLEM-BASED LEARNING FOR DEVELOPING SCIENCE LEARNING ACHIEVEMENT, PROBLEM SOLVING ABILITIES AND SCIENTIFIC ATTITUDE OF PRATHOM SUKSA 6 STUDENTS 

The purpose of this research was to compare the science learning achievement, problem solving abilities and attitudes towards science of Prathomsuksa 6 students before and after studying with problem-based learning. The sample for this research consisted of 35 Prathomsuksa 6 students studying in the 2015 academic year at Huayprab School, Pluk Daeng District, Rayong Province. The sampling, derived by means of multistage random sampling, used two steps: the first step was simple random sampling of one school of the 18 schools of Prathomsuksa 6 students in Huayprab school and the second step was simple random sampling of one class from the total of three classes with 35 students in Prathomsuksa 6/3 at Huayprab School. The experimental group was instructed by using problem-based learning, and randomized experimental pre-test and post-test design was applied as the research tool. The research instruments were lesson plans of problem-based learning, the science learning achievement test, the problem solving abilities test and scientific attitude questionnaires. The data were statistically analyzed by using the t-test for dependent samples. The findings of this research are as follows:
1. The science learning achievement of students after they were taught by using problem-based learning was significantly higher than of those before they were taught at the .05 significance level.
2. The problem solving abilities achievement of students after they were taught by using problem-based learning was significantly higher than of those before they were taught at the.05 significance level.
3. The level of scientific attitude after the students were taught by using problem-based learning was significantly higher than that before they were taught at the.05 significance level.

Article Details

How to Cite
Katkarn, P., Srisanyong, S., & Singlop, S. (2017). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Education and Innovation, 19(1), 77–89. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79075
Section
Research Articles