ผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการพึ่งตนเอง ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์

Main Article Content

Pimolporn Ngammoh
Pracha Inang
Pennapha Koolnaphadol

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการพึ่งตนเองของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 16 คน โดยคัดเลือกจากนิสิตที่มีคะแนนการพึ่งตนเองต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการพึ่งตนเองและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองการให้การปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบ แบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี่ ผลการศึกษา พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับการพึ่งตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนการพึ่งตนเองสูงกว่านิสิตกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนการพึ่งตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

THE EFFECT OF SOLUTION-FOCUS BRIEF THERAPY ON SELF-RELIANCE OF UNDERGRADUATE STUDENTS FACULTY OF EDUCATION 

This experimental research aimed to study the effects of solution-focus brief therapy on self- reliance of undergraduate students in a faculty of education. The sample comprised of 16 students who had scores in self-reliance less than 25th percentile. The simple random sampling method was adopted to equally divide the sample into two groups: an experimental group and a control group with eight students each. The instruments used in this research were the measurement of self-reliance and interventional program for solution-focus brief therapy. The intervention was administered for eight sessions. Each session lasted about 60 minutes. The research design was a two-factor experiment with repeated measures of one factor. The study was structured into three phases: the pre-test, the post-test and follow-up phases. The data were analyzed by using repeated measure analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and tested for pair differences by using Bonferroni’s method. The results reveal that interaction between the method and the duration of the experiment was statistically significant at an .05 level. The students in the experimental group had higher scores on self-reliance than the students in the control group with statistically significant differences at an .05 level when measured in the post-test and follow-up phases. The students in the experimental group had higher scores on self-reliance in the post-test and follow-up phases than in the pre-test phase with statistically significant differences at an .05 level.

Article Details

How to Cite
Ngammoh, P., Inang, P., & Koolnaphadol, P. (2017). ผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อการพึ่งตนเอง ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์. Journal of Education and Innovation, 19(1), 90–102. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79076
Section
Research Articles