กลยุทธ์การส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

Pakabhorn Plaisang
Chalong Chatruprachewin

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาแนวทางและสภาพแวดล้อมการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) สร้างกลยุทธ์การทำวิจัยของบุคลากรทางการศึกษา และ 3) ประเมินกลยุทธ์การวิจัยของบุคลากรทางการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยในด้าน การศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการวิจัย ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยทางการศึกษาจำนวน 10 คนและสภาพแวดล้อมของการส่งเสริมการวิจัยกระทำโดยสนทนากลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการ และบุคลากรในรูปแบบการวิเคราะห์ภายในของ McKinsey 7’s Frameworks และรูปแบบการวิเคราะห์ภายนอก C-PEST การร่างกลยุทธ์การส่งเสริมการวิจัย จากข้อมูลในตอนแรก ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ การประเมินกลยุทธ์โดยการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ 4 แห่ง จำนวน 60 คน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการศึกษา สรุปเป็น 7 ด้าน คือ 1) นโยบายของหน่วยงาน 2) วัฒนธรรมองค์กร 3) เครือข่ายการวิจัย 4) ทรัพยากรการวิจัย 5) การพัฒนาบุคลากร 6) การกำกับติดตาม และประเมินผล
7) การเผยแพร่งานวิจัยและการนำไปใช้ กลยุทธ์การส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
4 ประเด็นกลยุทธ์ 10 กลยุทธ์ 24 มาตรการ 41 ตัวชี้วัด ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์มีความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ในระดับมาก

STRATEGIES TO ENCOURAGE RESEARCH PRACTICE OF EDUCATIONAL PERSONNEL IN THE OFFICE OF PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 

The objectives of this research were 1) to study the guidelines and environments to encourage research practice of educational personnel in the Offices of Primary Educational Service Areas. 2) to draft the strategies to encourage research practices of the educational personnel, and 3) to evaluate strategies to encourage research practices of educational personnel. The research procedure to study the guidelines consisted of interviews of ten experts in educational research with semi-structure interviews, and the environment analysis employed a focus group discussion of the directors, the vice directors and the educational personnel using the McKinsey 7’s Framework as internal analysis and the
C-PEST as the external analysis. The draft of strategies was validated by nine educational experts and the evaluation of the strategies included the opinions of sixty selected persons from four offices of primary educational areas. The findings of this research were seven aspects of proposed guidelines to encourage research practices of educational personnel, they were: 1) the policy of the office, 2) the organizational culture, 3) the research network, 4) the research resources, 5) personnel development in research, 6) monitoring, follow-up and evaluation, and 7) research publicizing and implementation. The proposed strategies for the encouragement of the research practice consisted of four principle strategies, ten sub-strategies, twenty-four measures and forty-one indicators. The strategies evaluation in the suitability, possibility and utility were rated at high levels.

Article Details

How to Cite
Plaisang, P., & Chatruprachewin, C. (2017). กลยุทธ์การส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 19(1), 103–113. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79077
Section
Research Articles