การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิด สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

Sroungporn Kusolsong
Monasit Sittisomboon

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิดสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิด โดยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และอาจารย์รวม 15 คน และสอบถามนักศึกษา 4 แห่ง 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และแบบวัดยุทธวิธีการรู้คิด 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ห้อง 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน 4) การประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการ
ประเมินของเคิร์กแพทริก (Kirkpatrick) ใช้สถิติทดสอบค่า t (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-dependent)
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการวิเคราะห์ประสบการณ์เดิม และพัฒนาประสบการณ์ใหม่ ด้วยทักษะและยุทธวิธีการรู้คิดที่เหมาะสม 2) รูปแบบการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) กิจกรรมการเรียนการสอน 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล คุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษาหลังการพัฒนาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน มียุทธวิธีการรู้คิด สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิด อยู่ในระดับมาก

A DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE METACOGNITIVE STRATEGIES FOR RAJABHAT UNIVERSITY STUDENTS

This study aimed to develop an instructional model to enhance meta-cognitive strategies for Rajabhat University students. The specific objectives were to 1) study the instructional model to enhance meta-cognitive strategies for Rajabhat University students, 2) construct and verify the quality of the instructional model, 3) try out and study the results of using the instructional model, and 4) evaluate the results of using the instructional model. This study followed a research and development model which consisted of four phases: 1) study of the instructional model to enhance meta-cognitive strategies, 2) construction and verification of the instructional model and teacher’s manual; a meta-cognitive strategies assessment form was used to collect data from the sample group of 30 students majoring in early childhood education in the 2nd section, Petchabun Rajabhat University, 3) trial and study of the results of the model by using a one-group pretest – posttest design; the sample group was selected by using purposive sampling of 30 students in the 1st section, and 4) evaluation of the model by using Kirkpatrick’s model and dependent sample t-test. The research results are: 1) contemporary teaching and learning approach focused on inquiry learning and knowledge construction based on students’ prior knowledge. Students elaborated their knowledge through further studies to develop new experiences stimulating a cognitive approach in terms of knowledge, understanding use skill and Meta-cognitive strategies. 2) The results of the construction and verification of the instructional model were found that the instructional model consisted of six components: principles, objectives, contents, learning activities, media and resources, evaluation and assessment. The instructional model was approved of feasibility at the highest level in overall aspects.
3) The meta-cognitive strategies of students after using the instructional model were higher than before at an .01 level of significance. 4) The students’ opinions toward the instructional model was at a high level.

Article Details

How to Cite
Kusolsong, S., & Sittisomboon, M. (2017). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิด สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Education and Innovation, 19(1), 114–130. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79114
Section
Research Articles