การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงในวิถีอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

Chuleekorn Saikietiwat
Pichayapha Yuangsoi

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ดำเนินการโดยศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพัฒนาการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน นำ ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพปรังปรุงตามข้อเสนอแนะ และนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ไปทดลองนำร่องกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลบางมูลนาก “ราษฎร์อุทิศ” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน จากนั้นนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงที่สมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาพัฒนาการของมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 คือ ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลบางมูลนาก “ราษฎร์อุทิศ” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Custer Random Sampling) ใช้เวลาทดลอง 20 ชั่วโมง สรุปผลที่ได้จากรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงในการทดลองใช้รูปแบบ PAOR ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการบันทึกพัฒนาการมโนทัศน์ของนักเรียนทุก 2 สัปดาห์ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี องค์ประกอบของหลักการมุ่งพัฒนาความก้าวหน้าของมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงให้สูงขึ้นอยู่ในระดับดี วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงให้สูงขึ้นอยู่ในระดับดี เนื้อหา แบ่งเป็น 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) “ทรัพย์ในดิน” มโนทัศน์เรื่องการปฏิบัติตนมโนทัศน์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) มโนทัศน์ เรื่องเล่าจากนิทาน “ชุมชนเห็ดหอม” 3) มโนทัศน์ เรื่องเล่าจากชีวิตจริง “ชีวิตคอกหมู สู่องคมนตรี” และบทความ ชีวิตพอเพียงของหมอเกษม วัฒนชัย 4) มโนทัศน์เรื่อง และ 5) ประยุกต์ใช้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตนำไปใช้ในชีวิตจริงกระบวนการเรียนรู้ตาม PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) ขั้นวางแผน (Planning: P) เป็นการทำกิจกรรมโครงการเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการ 2) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action: A) เป็นหลักในการให้ความรู้ ความเข้าใจในการใช้รูปแบบ การมีมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 3) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation: O) นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ สังเกตพฤติกรรมตนเองและพิจารณาการปฏิบัติของตนเองกับเพื่อน 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflection: R) นักเรียนสะท้อนคิดจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้น พร้อมกับให้นักเรียนบันทึกความเป็นจริง แล้วมีการแก้ปัญหา การวัดผลและประเมินผล มโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง คุณภาพด้านความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
(\bar{x}= 4.19, S.D. = 0.54) และคุณภาพด้านความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 4.22, S.D. = 0.50) ผลการทดลองใช้รูปแบบ PAOR มีค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 0.6569 แสดงว่านักเรียนมีมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.69
2. ผลการใช้และศึกษาพัฒนาการของมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่า 1) มีพัฒนาการของมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงระหว่างเรียน ร้อยละ 81.33 2) มโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีความสุข มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหาของสังคมไทย มีประโยชน์ต่อนักเรียนทำให้นักเรียนได้เข้าใจการมีมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงได้เป็นอย่างดี รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

LEARNING MANAGEMENT PHILOSOPHY MODEL BASED ON THE SUFFICIENCY ECONOMY TO ENHANCE THE CONCEPT OF LIVING ADEQUATE IN THE ASEAN WAY FOR ELEMENTARY STUDENTS 

The purpose of this research was to develop learning management based on philosophy of sufficiency economy for enhancing self-sufficient economy concepts of elementary students in the Phichit Primary Educational Service Area Office 2. This study consisted of two stages: 1) to construct and study the quality of learning management model based on the philosophy of sufficiency economy for enhancing self-sufficient economy concepts of elementary students, and 2) development and examination of the model quality. The statistical analysis of quantitative data, percentage, mean, standard deviation and t test
(t-test) qualitative data was recorded during a conceptual development with the students every two weeks, which led to the following results;
1. The development of learning management model based on philosophy of sufficiency economy establish a baseline to determine the quality and to enhance the concept of living adequatelet rise at a good level. objective to study the development of the concept in life style sufficiently high up in a good level. The quality of examining checking over of model and model document, found that model could be effectively used in real situation. The quality of examining checking over of model and model document, found that model could be effectively used in real situation. The learning process consists of four stages according to PAOR (Planning, Acting, Observation, Reflection). The quality of the suitability of the model developed at a high level (\bar{x}= 4.19, S.D. = 0.54) and quality consistency of patterns of learning overall at a high level (\bar{x}= 4.22, S.D. = 0.50). The results have the index of the effectiveness of the learning management model of 0.6569, which shows that the students learn the concept of life style with sufficient increase of 65.69 percent.
2. Results of the study and development of the concept of living adequate for the study found that 1) the management model increase of 65.69 percent. development of conceptions in life style has a sufficient score at 81.33 percent, and 2) the concept in life style sufficiently after learned with the learning management model based on the philosophy of sufficiency economy with a statistical significance of .05.
The study showed that learning management brings to students happiness, confidence, assertion, and a level of consistency with current social problems of Thailand. As a benefit for students it makes students understand the concept of life sufficiently well, learn to work with others so that they can use their knowledge in their daily lives.

Article Details

How to Cite
Saikietiwat, C., & Yuangsoi, P. (2017). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงในวิถีอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 19(1), 219–230. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79131
Section
Research Articles