การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

Narisara Samranwong
Apunchanit Jenjit
Kongrat Nualpang

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพระตำหนักมหาราช จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เรื่องบทประยุกต์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว
(t – test for One Sample) ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

LEARNING MANAGEMENT BY SSCS MODEL FOR DEVELOPING MATHEMATICS PROBLEMS SOLVING ABILITY AND MATHEMATICS LEARNING ACHIEVEMENT OF PRATOMSUKSA 5 STUDENTS  

The purposes of this research were to compare the mathematics problems solving ability and mathematics learning achievement after learning by SSCS model with criterion at 75 percent. The sample consisted of 18 students in Pratomsuksa 5 of Pratamnakmaharaj School, Chonburi. Province, in the Academic Semester 2/2014 by using cluster random sampling. The research instruments were lesson plans, a problem solving ability test and a mathematics learning achievement test. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t – test for One Sample. The results of research are:
1. The mathematics problems solving ability of the students after learning by SSCS model was significantly higher than the 75 percent criterion at .01 level.
2. The mathematics learning achievement on applications after learning by SSCS model was significantly higher than the 75 percent criterion at .01 level.

Article Details

How to Cite
Samranwong, N., Jenjit, A., & Nualpang, K. (2017). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education and Innovation, 19(1), 254–264. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79140
Section
Research Articles