การพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อสร้างแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และจุดมุ่งหมายเฉพาะ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการฝึกอบรม และความต้องการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ก่อนและหลังการฝึกอบรม และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจในแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาเอกสาร หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครู และวิเคราะห์แบบจำลองการฝึกอบรม 2) พัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และตรวจสอบคุณภาพของแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เชี่ยวชาญ 3) ทดลองใช้แบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 385 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 17 คน 3) กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้แบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพปัญหาการฝึกอบรม และความต้องการฝึกอบรม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แบบประเมินความพึงพอใจในแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพ ปัญหาการฝึกอบรม สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ด้านความรู้และทักษะอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. แบบจำลองสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีองค์ประกอบการฝึกอบรม ดังนี้ 1) บริบท ปรัชญา หลักการ วัตถุประสงค์ 2) กระบวนการขั้นตอนการฝึกอบรม ประกอบด้วย การศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดวิธีการการจัดทำหลักสูตร การดำเนินการฝึกอบรม ประกอบด้วย ขั้นก่อนการฝึกอบรม และขั้นการฝึกอบรม และกิจกรรมการฝึกอบรม เช่น บรรยาย สาธิต และปฏิบัติงาน และ 3) การติดตามและประเมินผล ด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยรวมในระดับมาก
DEVELOPMENT OF INFORMATION TECHNOLOGY COMPETENCIES TRAINING MODEL FOR TEACHERS IN THE CHONBURI PROVINCIAL ADMINISTRATION
The purposes of this main research was: to develop the information technology competencies training model for teachers in the Chonburi Provincial Administration, and the purposes of this sub research were: 1) to study problem training and needs assessment training the Information Technology competencies training model, 2) to develop and to evaluate the information technology competencies training model, and 3) to assess the satisfaction regarding the competencies training model. The process of this research consisted of 1) a review of the literature about information technology competencies, the problems and the needs of the information technology training, 2) the development and expert-based validation of the information technology competencies training model, and 3) the implementation of the model. The samples were: 1) 385 teachers under the Chonburi provincial administrative organization for study problem and needs assessment training, 2) 17 experts in educational technology and in information technology for focus group, and 3) 36 teachers for implementation of the information technology competencies training model. The instruments used in this research were: 1) the survey of problems and needs assessment, 2) in-depth interviews, 3) the information technology competencies training model, and 4) the evaluation regarding satisfaction of information technology forms. The results show that
1. the teachers encounter problems with information technology and their knowledge and skills are moderate, so the training needs are at a very high level;
2. the model for teacher-oriented information technology competencies training consists 1) context, philosophy, principle and the objectives, 2) the training process composed of study and training needs assessment, method, curriculum, training, and 3) the follow-up and evaluation of cognitive skills and attitudes;
3. trainees had a higher mean score regarding Information technology competencies at a significancy level of .01 after the training;
4. trainees were highly satisfied with the training of information technology competencies.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.