การอำนวยการวาทกรรมชั้นเรียนเพื่อพัฒนายุทธวิธีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา (FACILITATING CLASSROOM DISCOURSE FOR DEVELOPING SELF-REGULATED LEARNING STRATEGIES OF STUDENTS IN A PROBLEM-SOLVING MATHEMATICS CLASSROOM)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอำนวยการวาทกรรมชั้นเรียนเพื่อพัฒนายุทธวิธีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสังเกตชั้นเรียน แบบบันทึกหลังการสอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน และการบันทึกวีดิทัศน์ โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์โพรโทคอลชั้นเรียนร่วมกับการวิเคราะห์ผลงานการแก้ปัญหาของนักเรียนและนำเสนอข้อมูล โดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาตามแนวทางของวิธีการแบบเปิดมีแนวทางการอำนวยการวาทกรรมชั้นเรียน ซึ่งครูและนักเรียนได้ปฏิบัติเพื่อพัฒนายุทธวิธีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักเรียนในแต่ละระยะของวงจรการเรียนรู้ ได้แก่ การคาดการณ์แนวคิด การคอยกำกับติดตามแนวคิด การเลือกแนวคิด การเรียงลำดับแนวคิด และการเชื่อมโยงแนวคิด โดยในระยะการคิดล่วงหน้า นักเรียนสามารถบอกเป้าหมายในการทำโจทย์ และวางแผนเลือกวิธีการที่ใช้ในการทำโจทย์ได้ สำหรับระยะการแสดงออก นักเรียนสามารถเขียนแสดงขั้นตอนในการทำโจทย์ได้ และมีการจดบันทึกสิ่งที่เรียนรู้จากการทำโจทย์ สุดท้ายระยะการสะท้อนด้วยตนเอง นักเรียนมีการตรวจสอบคำตอบ และบอกได้ถึงข้อดีและข้อเสียของวิธีการที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
In F.K. Lester, Jr. (Ed.), Research and issue in teaching mathematics through problem solving (pp. 241-254). Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.
2. Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study in Thailand: Designing a learning unit. Proceedings of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education (pp. 193-206). Gyeongju: Dongkook University.
3. Inprasitha, M. (2014). Problem-solving processes in school mathematics. Khon Kaen: Pen Printing Company. [in Thai]
4. Lester, Jr. (2011). The role of problem solving in the secondary school mathematics classroom. Teaching and Learning Mathematics, 7-12.
5. Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]
6. Phairotphiriyakun, N., Lindratanasirikul, K., and Chantarasonthi, U. (2013). The effects of mathematics learning activities in the topic of sequences and series with the use of open–ended mathematics problems on mathematics learning achievement and problem solving ability of Mathayom Suksa V at Tessabanphetcharawit School in Tak Province. Journal of Education Naresuan University, 15(1), 7-16. [in Thai]
7. Panich, W. (2012). How to create learning to disciple in the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saridwongso Foundation. [in Thai]
8. Schoenfeld, A. H. (1985). Mathematical problem solving. Orlando, FL: Academic Press.
9. Smith, M. S., & Stein, M. K. (2011). 5 Practices for orchestrating productive math discussions. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.
10. Stein, C. C. (2007). Let's talk: Promoting mathematical discourse in the classroom. Mathematics Teacher, 101(4), 285-289.
11. Suttiamporn, W. (2015). Mathematical activity emphasized on connection among knowledge and ideas for fostering students’ creativity. Journal of Education Naresuan University, 16(4), 93-103. [in Thai]
12. Zimmerman, B. J. (1989). A social cognitive view of self-regulated academic learning. Journal of educational psychology, 81(3), 329-339.
13. Zimmerman, B. J. (2002). Becoming a self-regulated learner: An overview. Theory into practice, 41(2), 64-70.