การพัฒนาชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL PACKAGES ON BEGINNING CHINESE BY APPLYING COOPERATIVE LEARNING PROCESS FOR PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS)

Main Article Content

ปฐมพร ฉิมพาลี (Patomporn Chimpalee)
อุทิศ บำรุงชีพ (Uthit Bamroongcheep)
วิมลรัตน์ จตุรานนท์ (Wimonrat Chaturanon)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลวังน้ำเย็นมิตรภาพที่ 179 อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐาน
โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (E1/E2) คือ 81.87/82.5
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนที่เรียนด้วยชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมมีเจตคติต่อการเรียนภาษาจีนอยู่ในระดับมากกว่า 3.51 (มีเจตคติทางบวกอยู่ในระดับมาก)

Article Details

How to Cite
(Patomporn Chimpalee) ป. ฉ., (Uthit Bamroongcheep) อ. บ., & (Wimonrat Chaturanon) ว. จ. (2019). การพัฒนาชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL PACKAGES ON BEGINNING CHINESE BY APPLYING COOPERATIVE LEARNING PROCESS FOR PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS). Journal of Education and Innovation, 21(3), 127–138. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/87124
บท
บทความวิจัย

References

1. Brahmawong, C. (1997). Teaching system. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]
2. Haemaprasith, S. (2000). Activity Packages 4 Mat with potential development for students. Journal of Education Srinakharinwirot University, 1(3), 26-27. [in Thai]
3. Johnson, R. T., & Johnson, D. W. (1994). An overview of cooperative learning. In J., Thousand, A., Valla, & A., Nevin (Eds.), Creativity and collaborative learning (p.2). Baltimore, Maryland, USA: Brookes Publishing.
4. Lianghirunthawon, S. (2013). A study of Chinese teaching and learning at high school in Chiang Mai. Journal of Liberal Arts Maejo Univesity, 1(2), 43-58. [in Thai]
5. Littlewood, W. (1981). Communicative language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
6. Malithong, K. (2005). Educational technology and innovation. Bangkok: Chuanchom. [in Thai]
7. Meng Qiu, & Sirisawat, C. (2011). The development of instructional packages on beginning Chinese learning for Prathomsuksa IV students in Thailand. Journal of Education and Social Development, 7(2), 72-84. (in Thai)
8. Nuangnoraj, C. (2008). English learning achievement by co-operative learning of Mattayom Suksa 2 students in Suankularb Wittayalai Rangsit School (Master thesis). Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
9. Office of the Education Council. (2016). A research report on the development of Chinese learning in Thailand. Bangkok: n.p. [in Thai]
10. Punoi, S., Sittisomboon, M., & Onthanee, A. (2015). A development of an instructional packages of cooperative learning by using case study to strengthen analytical thinking on business in daily life for Mathayomsuksa 6 students. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 245 -252. [in Thai]
11. Punyoo, N. (2000). Effects of cooperative learning using student team-achievement divisions on emotional intelligence and mathematics learning achievement of Mathayom Suksa one students (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
12. Ruengsuwan, C. (1990). Educational technology: Theory and research. Bangkok: Odeon store. [in Thai]
13. Thongsook, T. (1998). The development of instructional package in life experiences area for
Prathom Suksa 5 students (Master thesis). Bangkok: Srinakharinwirot University. [in Thai]
14. Thongvicharn, P. (2005). A construction of instructional packages on basic communicative Chinese learning for Prathomsuksa 6 students (Master thesis). Chonburi: Burapha University. [in Thai]
15. Wangphasit, L. (2016). Coaching for learning English with happiness. Journal of Education Naresuan University, 18(3), 351-361. [in Thai]
16. Wongsoontorn, W. (2000). Pleasant learning: a case study research of Thai language master teacher at the elementary education level (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]