ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (THE EFFECTS OF LEARNING MANAGEMENT USING SCIENTIFIC METHODS WITH HIGHER-ORDER QUESTIONS TO PROMOTE LEARNING ACHIEVEMENT, INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS, AND ANALYTICAL THINKING ABILITY OF 7 GRADE STUDENTS)

Main Article Content

นิชกานต์ สฤษดิ์ไพศาล (Nichakan Saridpaisan)
ภัทรภร ชัยประเสริฐ (Pattaraporn Chaiprasert)
ปริญญา ทองสอน (Parinya Thongsorn)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
(Nichakan Saridpaisan) น. ส., (Pattaraporn Chaiprasert) ภ. ช., & (Parinya Thongsorn) ป. ท. (2019). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (THE EFFECTS OF LEARNING MANAGEMENT USING SCIENTIFIC METHODS WITH HIGHER-ORDER QUESTIONS TO PROMOTE LEARNING ACHIEVEMENT, INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS, AND ANALYTICAL THINKING ABILITY OF 7 GRADE STUDENTS). Journal of Education and Innovation, 21(3), 113–126. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/88435
บท
บทความวิจัย

References

1. Chadsadarom, S. (2008). The results of learning management using scientific methods on the learning achievement and scientific process skills of Matthayomsuksa 1 students (Master thesis). Songkhla: Thaksin University. [in Thai]
2. Human Resources Institute. (2001). To strengthen by the teaching of science to excellence in the educational system of Thailand: A strategy to support scientific personnel to develop in the globalization. Bangkok: Thammasat University Printing House. [in Thai]
3. Kosum, S., & Khumwatjanang, D. (2001). Children teaching to think. Bangkok: Tip Publication. [in Thai]
4. Moolkum, S., & Moolkum, A. (2004). 21 learning management: For development of thinking process (5th ed.). Bangkok: Parbpim Printing. [in Thai]
5. Naluan, N. (2013). The results of 7E Learning Cycle Model with questioning technique on analysis thinking abilities and scientific learning achievement of Prathomsuksa 5 students (Master thesis). Songkhla: Thaksin University. [in Thai]
6. National Institute of Educational Testing Service. (2016). Results educational testing basic national (O-NET) Secondary 3. Retrieved March 2, 2016, from https://www.onetresult.niets.or.th [in Thai]
7. Onyon, N. (2008). Effects of inquiry-based science instruction using higher-order questions on analyzing and synthesizing thinking ability of lower secondary school students (Master thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
8. Poosiris, J. (2007). The development of students’ analytical thinking and science learning achievement at grade 9 through the use of scientific method based on John Dewey (Master thesis). Khon Kaen: Khon Kaen University. [in Thai]
9. Rotrangkha, W. (2001). Science teaching to accentuate the process skill (2nd ed.). Bangkok: Institue of Academic Development. [in Thai]
10. Saiyot, L., & Saiyot, A. (1995). Educational research techniques (4th ed.). Bangkok: Suviriyasarn. [in Thai]
11. Soontornpak, S. (2016, February 15). Head of Science Department. Interview. [in Thai]
12. Sutthirat, C. (2010). 80 innovative learning management that focuses on the learners (3rd ed.). Bangkok: Danex Intercorporation. [in Thai]
13. Wiangwalai, S. (2013). Learning management. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]
14. Wichianrat, C., Chaiprasert, P., & Srisanyong, S. (2016). A study on the effects of active learning method in hydrocarbon derivatives for grade 12 students. Journal of Education Naresuan University, 18(2), 144. [in Thai]