การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครูโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้ (THE DEVELOPMENT OF STUDENT TEACHERS’ CLASSROOM ACTION RESEARCH COMPETENCY USING WLODKOWSKI’S MOTIVATIONAL APPROACH)

Main Article Content

สุทธิพงศ์ บุญผดุง (Suttipong Boonphadung)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครูก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครู หลังการพัฒนาโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้กับเกณฑ์ระดับสมรรถนะ ร้อยละ 90 และ 3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาครูที่มีต่อการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ หลังการพัฒนาโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้ การดำเนินการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงทดลอง ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวประเมินก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 หมู่เรียน
มีนักศึกษา 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการส่งเสริมความคิดขั้นสูงของผู้เรียน เป็นแผนที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้ จำนวน 15 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากที่จะนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง (gif.latex?\bar{x} = 4.22) 2) แบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครู จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา S-CVI = .90 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครู มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา S-CVI = .80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครูในภาพรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. สมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครูหลังใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เจตคติของนักศึกษาครูที่มีต่อการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการหลังการพัฒนาโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
(Suttipong Boonphadung) ส. บ. (2019). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครูโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้ (THE DEVELOPMENT OF STUDENT TEACHERS’ CLASSROOM ACTION RESEARCH COMPETENCY USING WLODKOWSKI’S MOTIVATIONAL APPROACH). Journal of Education and Innovation, 21(2), 327–340. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/89983
บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุทธิพงศ์ บุญผดุง (Suttipong Boonphadung), คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Associate Dean for Administrative Affairs, Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University

References

1. Aljojo, N., Adams, C., Alkhouli, A., Fitch, T., & Saifuddin, H. (2009). A study of the reliability and validity of the Felder-Soloman index of learning styles in Arabic. In 8th European Conference on e-Learning (ECEL), University of Bari, Italy, 29-30 October.
2. Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree.
3. Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
4. Boonphadung, S. (2014). The development of teachers’ research competency based on Vygotsky’s Zone of Proximal Development (ZPD) and Partnership. Journal of Education Narasuan University, 16(4), 22-33. [in Thai]
5. Bureau of Professional Standards, Standard Group and Professional Ethics. (2007). Handbook for the implementation of the degree certificate and educational certificate for professional practice. Bangkok: The Office of the Welfare Promotion Commission for Teacher and Educational Personnel. [in Thai]
6. Ciobanu, A., & Ostafe, L. (2014). Student satisfaction and its implications in the process of teaching. Acta Didactica Napocensia, 7(4), 31-36.
7. Dewey, J. (1929). My pedagogic creed. Journal of the National Education Association, 18(9), 291-295.
8. Faikhamta, C., & Clarke, A. (2015). Thai pre-service science teachers engaging action research during their fifth-year internship. Asia Pacific Journal of Education, 35(2), 259-273.
9. Klangphahol, K., & Sakulrattanakulchai, S. (2015). Results of a needs assessment for the development of classroom research ability of students teacher. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science, 10(1), 96-108. [in Thai]
10. Lynn, M. R. (1986). Determination and Quantification of Content Validity. Nursing Research, 36(6), 382-385.
11. Mertler, C, A. (2006). Action research: Teachers as researchers in the classroom. Thousand Oaks, CA: Sage.
12. National Education Commission. (1999). National Education Act, 1999. Bangkok: Prikwran Graphic. [in Thai]
13. Panichplinchai, T. (n.d.). Research for quality development of learners. Retrieved September 10, 2015, from https://office.nu.ac.th/edu.../n-research–aj.Tiumchan.pdf [in Thai]
14. Shroyer, G., Yahnke, S., Bennett, A., & Dunn, C. (2007). Simultaneous renewal through professional development school partnership. The Journal of Educational Research, 100(4), 211-223.
15. Linden, van der, P. W. J., Bakx, A. W. E. A., Ros, A., Beijaard, D., & Bergh, van den, L. (2015).
The development of student teachers' research knowledge, beliefs and attitude. Journal of Education for Teaching, 41(1), 4-18.
16. Wlodkowski, R. J. (1997). Motivation with a mission: Understanding motivation and culture in workshop design. New Directions for Adult and Continuing Education, 76, 19-31.
17. Zambo, D., & Zambo, R. (2007). Action research in an undergraduate teacher education program: What promises does it hold? Action in Teacher Education, 28(4), 62-74.