โรงเรียนสาธิตที่แท้ : การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ

Main Article Content

เฉลิมลาภ ทองอาจ

Abstract

บทคัดย่อ

ดุย (Dewey) และ ปาร์เกอร์ (Parker) นักปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการได้ก่อตั้งโรงเรียนสาธิต ขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้า ทดลอง และวิจัยการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ ซึ่งเชื่อว่านักเรียนทุกคนมี ธรรมชาติแห่งการเรียนรู้และการค้นพบ การจัดการเรียนรู้จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมการ เรียนรู้ต่างๆ ที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมในระบอบประชาธิปไตย นักการศึกษาไทยได้นำแนวคิดโรงเรียน สาธิตมาใช้ในประเทศเป็นเวลากว่า 50 ปี และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้การจัด การศึกษาของโรงเรียนสาธิตไทยมีลักษณะเปลี่ยนไปจากพื้นฐานปรัชญาเดิม โดยพิจารณาได้จากการ กำหนดเป้าหมายมุ่งเน้นการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นหลัก การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ไม่นำไปสู่ การเปลี่ยนแปลง การบริหารยึดติดในระบบราชการ หลักสูตรไม่สัมพันธ์กับชีวิตและคณาจารย์ไม่ให้ ความสำคัญกับปรัชญา ดังนั้น สมควรที่ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาแบบโรงเรียนสาธิตควรไตร่ตรองและ ทบทวนแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสาธิตที่แท้จริง แนวทางที่สามารถ ปฏิบัติได้คือ ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยในโรงเรียน จัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ และพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

คำสำคัญ : โรงเรียนสาธิต, ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ, การจัดการเรียนรู้

 

Abstract

The first demonstration school was found in late 19th century by Dewey and Parker, progressive education philosophers, in the United State of America. The purposes of demonstration school cover the discovery, experimentation and research in learning management based on progressive education philosophy which is believed that student can learn and discover the world naturally. Learning management focus on student participation in learning activities and experiences that relate with life and democracy society. Thai educators have used the demonstration school ideas in Thailand for 50 years. It has been influenced by many factors such as setting goal for university admissions, vision and mission can not lead to change, curriculum does not relate to real life, and school instructors do not emphasize the progressive education philosophy. Thus, the educators who concern with the demonstration school should meditate and revise learning management back to the actual demonstration school by developing democracy in school, founding progressive education association and developing relationship between university and school for using learning resources reciprocally.

Key words : The demonstration school, Progressive education philosophy, Learning management

Article Details

How to Cite
ทองอาจ เ. (2013). โรงเรียนสาธิตที่แท้ : การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ. Journal of Education and Innovation, 12(1), 71–94. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9198
Section
Research Articles