ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ที่เน้นการเชื่อมโยง เนื้อหาคณิตศาสตร์สู่สถานการณ์ในโลกจริง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาคณิตศาสตร์กับสถานการณ์จริงจะช่วยให้ นักเรียนมองเห็นประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ต้องการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ที่เน้นการเชื่อมโยงเนื้อหาคณิตศาสตร์สู่สถานการณ์ในโลกจริง ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “กิจกรรม ทดลอง” โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ของ นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมทดลองกับนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถ ในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ในโลกจริง เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังเรียน โดยใช้ กิจกรรมทดลอง และ 3) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ด้านการตระหนักเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ต่อ ชีวิตจริงของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมทดลอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการ จัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย ที่เน้นการเชื่อมโยงเนื้อหาคณิตศาสตร์กับสถานการณ์ในโลกจริงสำหรับกลุ่มทดลอง แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาคตัดกรวย โดยใช้แบบเรียนปกติสำหรับกลุ่มควบคุม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ในโลกจริง เรื่อง ภาคตัดกรวย และแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ด้านการตระหนักเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ต่อชีวิตจริง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และสถิติสำหรับการวิเคราะห์แบบ t – test dependent sample โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมไม่แตกต่างกัน 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ในโลกจริง เรื่อง ภาคตัดกรวย ของกลุ่ม ทดลองหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมทดลองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ด้านการตระหนักเห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ต่อชีวิตจริงของกลุ่มทดลองหลังเรียนโดยใช้ กิจกรรมทดลองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: การเชื่อมโยงเนื้อหาคณิตศาสตร์สู่สถานการณ์ในโลกจริง/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์/ ความสามารถในการแก้ปัญหา/เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
Abstract
Learning activities that could connect mathematics to real-world situation would lead students to realize the use of mathematics to real – world situation. In this research, a set of mathematical learning activities on conic sections that connect the mathematical contents to some of the real – world situations was constructed, later will call “Experimental activities”. The purposes of this research were to 1) compare mathematics achievement of students learned through the experimental activities and that of students learned by regular teaching method 2) compare mathematics problem solving abilities of students in the experimental group before and after learned via the experimental activities and 3) compare attitude towards mathematics of students in the experimental group before and after learned via the experimental activities.
The sample groups consisted of two groups of grade 11 students from Science and Technology program at Kasetsart University Laboratory School, Multi – lingual program, Center for Educational Research and Development studying during the second semester of 2010 academic year and selected by clustering random sampling. The research instruments included a set of lesson plans using mathematics learning activities on conic sections connecting the mathematical contents to real – world situations, a set of lesson plans using regular teaching method, the mathematics achievement test on “conic sections”, a set of mathematics problem solving on conic sections connecting the mathematical contents to real – world situations test and a student’s questionnaire on attitude towards mathematics. The data were analyzed by using ANCOVA and t – test dependent sample via the SPSS.
The results indicated that 1) The mathematics achievements of grade 11 students on conic sections learned through the experimental activities and through regular teaching method were not different. 2) The mathematics problem solving abilities of the experimental group after learned by using the experimental activities were better than before taking class with statistical significant at .01. 3) The attitude towards mathematics of the experimental group after learned by using the experimental activities were better than before taking class with statistical significant at .01.
Keywords: Connecting the mathematical contents to real – world situations/Mathematics achievement/Mathematical problem solving abilities/Attitude towards mathematics
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.