การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

เครือมาส คำเขียน
ปกรณ์ ประจันบาน
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชีวิตได้ดำเนินการสร้างองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายเปิด และแบบประเมินความเหมาะสมซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และตรวจสอบ ความตรงของตัวชี้วัดทักษะชีวิตกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร จำนวน 560 คน โดยใช้แบบประเมินทักษะชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายปิดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Peason’s Product Moment Correlation) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย พบว่ามีตัวชี้วัดทักษะชีวิต 28 ตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมในการชี้วัดทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และผลการตรวจสอบความตรงของตัวชี้วัดทักษะชีวิต โดยใช้โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากโปรแกรมลิสเรล พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ค่าไค-สแควร์ ( x2 ) เท่ากับ 242.29 (P =0.12) ที่องศาอิสระเท่ากับ 218ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.014 หมายความว่า โมเดลตัวชี้วัดทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

Abstract

The purpose of this research was to develop life skills indicators for upper secondary schoolstudents. Life skills indicators were creating main and minor component and developing life skillsindicators for upper students’ in secondary school by using an open-ended interview, a 5 rating scalesclosed questionnaire and was to check the accuracy validity of life skills indicators for uppersecondary school students. The sample was 560 upper secondary school students In Phichit Province.The tool was life skills evaluation that was 5 rating scales closed questionnaire. The data wereanalyzed by median, interquartile range: IQR, mean, standard deviation, Pearson’s Product MomentCorrelation and confirmatory factor analysis : CFA of LISREL program

The research result found that there were 28 indicators that was suit for indicating life skillsindicators for upper secondary school students while the result of the indicators validity of life skills indicators for upper secondary school students by using confirmatory factor analysis : CFA of LISRELprogram revealed that the Goodness of Fit Index : GFI between model assumption and empirical datahad got chi square ( x2 ) as 242.29 =0.12 ), P at Degree of Freedom was equal 218, the Goodnessof Fit Index : GFI was 0.97, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) was 0.94, Comparative FitIndex: CFI was equal 0.99 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) was at 0.014.These data mean that the model of Life skills indicators for upper secondary school students that wasdeveloped well harmony with the empirical data.

Article Details

How to Cite
คำเขียน เ., ประจันบาน ป., & พานิชย์ผลินไชย เ. (2013). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. Journal of Education and Innovation, 15(2), 17–25. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9207
Section
Research Articles