แนวทางการประยุกต์ใช้หลักทางพระพุทธศาสนาในการสอนการอนุรักษ์ ป่าไม้และสัตว์ป่า

Main Article Content

ประยูร วงศ์จันทรา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทางพุทธศาสนา ในการสอนการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางพระพุทธศาสนา จำนวน 7ท่าน และเพื่อทราบความคิดเห็นของพระธรรมวิทยากรเกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทางพระพุทธศาสนาในการสอนการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นพระธรรมวิทยากรซึ่งเป็นพระนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จำนวน 108 รูป ผลการศึกษาพบว่าหลักทางพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในการสอนการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ได้แก่ หลักกรรมและผลของกรรม หลักกตัญญูกตเวที (การรู้จักบุญคุณและตอบแทน) หลักทานและจาคะ (การให้และการเสียสละ) หลักเมตตากรุณาธรรม หลักโภชเน มัตตัญญุตา (การรู้จักประมาณในการบริโภค) หลักสันโดษ หลักสมชีวิตา (การใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม) หลักปฎิจจสมุปบาท (การอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น) หลักปธาน (ความเพียร)หลักปาณาติปาตาเวรมณี (เว้นจากการฆ่าสัตว์) หลักอหิงสา(การไม่เบียดเบียน) หลักสัพพปาปัสสะ อกรณัง (การไม่ทำบาปทั้งปวง) หลักมัชฌิมปฎิปทา (ทางสายกลาง) และหลักวนโรปสูตร (สูตรว่าด้วยการปลูกต้นไม้) โดยนำหลักดังกล่าวไปจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ทั้งการทำโครงการ จัดสัมมนา อบรม เทศนาสั่งสอน บรรยาย สอนตามสถานที่ต่างๆ และจัดทำเอกสารออกเผยแพร่แก่ประชาชน สำหรับความคิดเห็นของพระธรรมวิทยากรเกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้ หลักทางพุทธศาสนาในการสอนการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่านั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าโดยรวมทั้งด้านวัตถุประสงค์ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรม และด้านการประเมินผล มีความเหมาะสมมาก

คำสำคัญ : การประยุกต์ใช้, หลักทางพุทธศาสนา, การอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า

 

Abstract

The purposes of this study were to study an application of Buddhism principles in teachingof forestry and wildlife conservation interviewing seven experts in Buddhism principles and opinion ofmonks teaching Buddhism principles (Pradhammawittayakorn) abou it. The sample was 180 monksteaching Buddhism principles (Pradhammawittayakorn) being students of Mahamakut Buddhistuniversity, obtained by simple random sampling. The equipments that used in this research wereinterviewnaire being analyzed of information used description and questionnaire being analyzed ofinformation used frequency, percentage, means and standard deviation. The results revealed that :Buddhism principles being able to apply to teach of forestry and wildlife conservation were : avolitional action (Kamma), gratitude (Katannukatawedita), charity and a bandoning (Dana and Caga),loving - kindness and Compassion (Metta and Karuna), moderation in eting (Bhojane mattannuta),contentment (Santosa), balanced livelihood (Samajivita), the dependent origination(Paticcasamuppada), effort (Padhana), abstain from taking life (Panatipata veramani), non – violence(ahimsa), don’t make all evil (Sappapapassa Akaranam), the middle path (Majjhimapatipada) andgrowth forest method (Wanaropasutta). These Buddhism principles can apply to take activitiesprojects, seminar, admonition, teaching, description, and making papers to declare for people. Foropinion of monks teaching Buddhism principles about an application of Buddhism principles inteaching of forestry and wildlife conservation in total in aspects of objective, principle, activity andevaluation was very suitable level.

Key words : Application, Buddhism principles, Forestry and wildlife conservation

Article Details

How to Cite
วงศ์จันทรา ป. (2013). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักทางพระพุทธศาสนาในการสอนการอนุรักษ์ ป่าไม้และสัตว์ป่า. Journal of Education and Innovation, 12(1), 95–112. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9209
Section
Research Articles