การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาครู

Main Article Content

รสริน เจิมไธสง
สำลี ทองธิว

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาครู โดยใช้แนวคิดการไตร่ตรองเชิงวิพากษ์และการเรียนรู้ตามสภาพจริงกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนเรียนการสอน 5 ขั้นตอนหลักดังนี้ 1) การทบทวนภายใต้หลักการและเหตุผลตามหลักวิชาการ (Technical reasoning: T)2) การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งภายใต้การเชื่อมโยงมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลาย (Reflectivity: R) 3) การปรับแผนการสอนใหม่ภายใต้ข้อสรุปอย่างไตร่ตรอง (Methodology Improvement: I) 4) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Application: A) 5) การประเมินผลกระทบเชิงคุณค่าต่อผู้เรียนและสังคม (Critical reflectivethinking: C) ผลการใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกระบวนการของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษาครูมีความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างไตร่ตรองเชิงวิพากษ์สูงก่อนกว่าก่อนการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาครูมีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์รวมทั้งการประเมินผลกระทบของวิธีสอนที่ใช้ในการออกแบบการสอนและผลกระทบที่มีต่อสังคม

คำสำคัญ : การไตร่ตรองเชิงวิพากษ์, การออกแบบการสอน, การออกแบบการสอนอย่างไตร่ตรองเชิงวิพากษ์,นักศึกษาครู

 

Abstract

The purpose of the study was to develop an instructional model to enhance student teachers’critical reflective instructional design ability and to apply the designed instruction into classrooms withcritical reflective approach and authentic learning. The sample were 4 yean’ 15 student teachers inbachelor of education (Education Computer) curriculum, Rajamangala University of TechnologyThanyaburi in Thailand. There were 5 steps in the instructional model: 1) Technical Reasoning step (T),in which the participants were encouraged to examine and identify the selected teaching method. 2)Reflectivity step (R), in which the participants reflected the weakness and strong points of theselected teaching method. 3) Methodology Improvement step (I), in which the participants were to improved the weaknesses of the selected teaching method, and design the new teaching method. 4)Instructional Application step (A), in which the participants were to apply the newly designed teachingmethod in actual classrooms. 5) Critical Reflective Thinking step (C), After applying the TRIAC Modelto 15 student teachers, it was found that their ability in designing instructional lesson plans weredone in more critical reflective process than before participating in the Model. In which the participantswere to exchange their data and experiences, evaluating the effects of the designed instructionalmethods among their colleagues and concerned public.

Keywords: Critical Reflective, Instructional Design, Critical Reflective Instructional Design, StudentTeachers

Article Details

How to Cite
เจิมไธสง ร., & ทองธิว ส. (2013). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาครู. Journal of Education and Innovation, 15(2), 26–34. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9212
Section
Research Articles