รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ณัฎฐ์ ชาคำมูล
ฉันทนา จันทร์บรรจง
ภานุวัฒน์ ภักดีวงศ์
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมตามคุณลักษณะที่ควรยึดถือ และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมตามคุณลักษณะที่ควรยึดถือและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสำรวจความต้องการจำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษา และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 11 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และใช้วิธี Priority Needs Index (PNI) แบบปรับปรุง 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยเทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 7คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยเทคนิคการประชาพิจารณ์ จำนวน40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมตามคุณลักษณะที่ควรยึดถือสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย 3 ระดับ คือ 1) คุณลักษณะที่ควรยึดถือสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาระดับบุคคล 2) คุณลักษณะที่ควรยึดถือสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาระดับกลุ่ม และ 3) คุณลักษณะที่ควรยึดถือสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาระดับสังคม/ชุมชน โดยระดับแรก ประกอบด้วย ความมีสติสัมปชัญญะ ความสอดคล้องภายในตนและ ความมั่นคงในพันธะสัญญา ระดับที่สอง ประกอบด้วย การสร้างพลังกลุ่มร่วม การสร้างเอกภาพแห่งเป้าหมาย และการโต้แย้งเชิงตรรกะ และระดับที่สาม คือ การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี

2. วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบไปด้วย 2 วิธีการ ได้แก่ จิตตปัญญาศึกษา และการจัดการความรู้

3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมตามคุณลักษณะที่ควรยึดถือ และ2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. การประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคม, วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา

 

Abstract

The main purpose of this study was to identify major components of a social change model ofleadership (SCML) development of school administrators under the jurisdiction of the Office the BasicEducation Commission (OBEC) with the following objectives: 1) to study desirable traits of social change ofleadership of school administrators and methods of leadership development for school administrators; 2) toconstruct a social change model of leadership development of school administrators under the jurisdiction ofOBEC and 3) to evaluate the model for social change of leadership development of school administratorsunder the jurisdiction of OBEC.

The research procedure followed three steps: 1) analyzing and synthesizing concepts and thetheories through relevant documents and research findings, related to desirable traits of social change ofleadership and methods of leadership development for school administrators, then surveying the needs of346 school administrators and interviewing 11 educational experts; Data were analyzed through contentanalysis and Priority Needs Index (PNI) modified 2) constructing of a tentative model , then checking itsappropriateness through connoisseurship among 7 educational experts 3) evaluating the feasibility by 40personnel in the offices of education service areas and schools; data were analyzed through contentanalysis means and standard deviations.

The results of the research were as follows:

1. The desirable traits of social change of leadership of school administrators under thejurisdiction of OBEC. The three levels were: 1) desirable traits of personal level 2) desirable traits of grouplevel and 3) desirable traits of community or society level. The elements of the first level wereconsciousness of self, congruence, and commitment while the second level consisted of collaboration,common purpose and controversy with civility and the element of the third level was citizenship.

2. There were two methods for leadership development of school administrators: contemplativeeducation, and knowledge management.

3. A social change model of leadership development of school administrators under thejurisdiction of OBEC. The two elements were: 1) desirable traits of social change of leadership of schooladministrators and 2) methods for leadership development of school administrators under the jurisdiction ofOBEC

4. The evaluation of the constructed model yielded the results as feasible at a high level.

Keywords : Social Change of Leadership, Method of Leadership Development, School Administrators

Article Details

How to Cite
ชาคำมูล ณ., จันทร์บรรจง ฉ., ภักดีวงศ์ ภ., & กอนพ่วง อ. (2013). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนผ่านทางสังคมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 15(2), 35–45. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9214
Section
Research Articles