กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา

Main Article Content

สมศรี ฐานะวุฒิกุล
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
วิทยา จันทร์ศิลา
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนใสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและแนวทางในการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพแวดล้อมและแนวทางในการพัฒนาจิตสาธารณะโดยการวิเคราะห์ รายงานการประเมินตนเอง (SAR) รายงานโครงการ รายงานการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตสาธารณะ จำนวน 15 แห่ง สถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 6 แห่ง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษากระทำโดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1มายกร่างกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาจำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา โรงเรียนต้องมีนโยบายและแผนการดำเนินงานโดยกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ เป้าหมาย และกำหนดภารงานด้านจิตสาธารณะไว้ชัดเจน มีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ ครูมีความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการปฏิบัติงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

2. กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาที่สร้างขึ้น มี 4กลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่การมีจิตสาธารณะ 2) กลยุทธ์ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อให้มีจิตสาธารณะ 3) กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจการจัดกิจกรรมเพื่อน้อมนำกระแสพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชมาพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีจิตสาธารณะ 4) กลยุทธ์เพิ่มมาตรการส่งเสริม ความเข็มแข็งด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการมีจิตสาธารณะ

3. การประเมินกลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาพบว่ามีความเป็นไปได้ในระดับมาก

 

Abstract

This research aims to construct strategies for the development of students’ public mind inelementary basic schools. The specific objectives consists of (1) studying environments and ways todevelop students’ public mind in elementary basic schools, (2) creating the strategies for students’public mind development in elementary basic schools and (3) evaluating the created strategies. Theresearch was conducted through 3 phases as follows : 1) studying environments and ways to developstudents’ public mind through analysis of Self Assessment Report (SAR), project reports, public minddevelopment’s activity reports in 15 elementary basic schools and 6 best practice schools, andinterviews of 9 educational experts. Data analysis used context analysis. 2) drafting tentativestrategies for students’ public mind development in elementary basic schools, based on the results ofdata in phase 1 and validating them by group discussion of 9 educational experts. 3) evaluating thevalidated strategies by the purposively selected sample of 50 directors of elementary basic schools.Statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The results are shown asfollows;

1. Environments in schools, policies and action plans are stated in schools, guided clearly byvisions, obligations, goals and tasks in public mind development. School offered learning sourcesfacilitating public mind’s cultivating activities. Teachers are committed and devoted to the goal andtasks on the principles of participation by stake holders from all sectors.

2. The strategies created for students’ public mind development in elementary basic schoolare: (1) strategy for increasing learning ability that aims for public mindedness (2) strategy forpromoting action plans and the implementation (3) strategy to motivate new generation to be involvedin public mind-promoting activities according to the H.M. King Bhumibol’s discourse, and (4) strategyfor strengthening a technological media for public mindedness.

3. The strategies created for students’ public mind development in elementary basic schoolhave been evaluated at a high level of feasibility.

Article Details

How to Cite
ฐานะวุฒิกุล ส., ชาตรูประชีวิน ฉ., จันทร์ศิลา ว., & กอนพ่วง อ. (2013). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(2), 46–57. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9215
Section
Research Articles