ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

รัตนะ บัวสนธ์
จุฑามาส ศรีจำนง
รพีพร ศรีติมงคล
จุรีรัตน์ ประวาลลัญฉกร
ภีรภา จันทร์อินทร์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิต ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทาง อารมณ์ของนิสิตปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู และการรับรู้สภาพแวดล้อมด้านบุคคลกับความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิต ปริญญาตรี 3) เพื่อศึกษาและสร้างสมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ ปีการศึกษา 2551 มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 410 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นคิดเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความฉลาดทางอารมณ์ใน ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวม ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล การอบรมเลี้ยงดูแบบ ปล่อยตามใจ บุคลิกภาพแบบแสดงตัว แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้สภาพแวดล้อมส่วนบุคคลต่ออาจารย์

และการรับรู้สภาพแวดล้อมส่วนบุคคลต่อกลุ่มเพื่อน 3) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทาง อารมณ์ในภาพรวมทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ บุคลิกภาพแบบอาการทางจิต บุคลิกภาพแบบแปรปรวน และการอบรมเลี้ยงดูแบบเผด็จการ บุคลิกภาพด้านอาการทางจิต การรับรู้ สภาพแวดล้อมต่อกลุ่มเพื่อน และการรับรู้สภาพแวดล้อมต่ออาจารย์ 4) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลันนเรศวร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพด้านการแสดงตัว บุคลิกภาพ ด้านอารมณ์แปรปรวน การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยตามใจ การอบรมเลี้ยงดูแบบเผด็จการ บุคลิกภาพด้าน อาการทางจิต การรับรู้สภาพแวดล้อมต่อกลุ่มเพื่อน และการรับรู้สภาพแวดล้อมต่ออาจารย์ โดยสามารถพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ใน ภาพรวมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร้อยละ 77.80 (R2= 0.778)

สมการพยากรณ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาด ทางอารมณ์ในภาพรวมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร แสดงได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

EQ = 1.005 + 0.292CAREDMO + 0.205AM + 0.105BHEXT - 0.053BHNEU + 0.140CAREFRE - 0.079CARESTC - 0.028BHPSY + 0.059EVFR + 0.051 EVTE

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

ZEQ = 0.351ZCAREDMO + 0.235ZAM + 0.216ZHEXT - 0.129ZBHNEU + 0.205ZCAREFRE - 0.107ZCARESTC - 0.086ZBHPSY + 0.083ZEVFR + 0.071ZEVTE

5) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ในตนเองของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบมีเหตุผล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพด้านการแสดงตัว บุคลิกภาพด้านอารมณ์แปรปรวน การอบรมเลี้ยงดูแบบ ปล่อยตามใจ การอบรมเลี้ยงดูแบบเผด็จการ บุคลิกภาพด้านอาการทางจิต โดยสามารถพยากรณ์ความ ฉลาดทางอารมณ์ ในตนเองของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร้อยละ 82.30 (R2= 0.823)

สมการพยากรณ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานของปัจจัยที่ส่งผลต่อความ ฉลาดทางอารมณ์ในตนเองของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร แสดงได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

EQSELF = 0.691 + 0.429CAREDMO + 0.179 AM - 0.100 CARESTC + 0.102 BHEXT - 0.041 BHNEU + 0.087 CAREFRE - 0.034 BHPSY

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

ZEQSELF = 0.496ZCAREDMO + 0.197ZAM - 0.131ZCARESTC + 0.201ZBHEXT - 0.097ZBHNEU + 0.123ZCAREFRE - 0.099ZBHPSY

6) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ระหว่างบุคคลของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อย ตามใจ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ บุคลิกภาพด้านการแสดงตัว และบุคลิกภาพด้านอารมณ์แปรปรวน โดย สามารถพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ระหว่างบุคคลของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ร้อยละ 51.40 (R2= 0.514)

สมการพยากรณ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานของปัจจัยที่ส่งผลต่อความ ฉลาดทางอารมณ์ระหว่างบุคคลของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร แสดงได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

EQBTW = 1.548 + 0.279 CAREFRE + 0.268AM + 0.140 BHEXT - 0.101 BHNEU

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

ZEQBTW = 0.363ZCAREFRE + 0.273ZAM + 0.255ZBHEXT - 0.220ZBHNEU

คำสำคัญ : ความฉลาดทางอารมณ์, ความฉลาดทางอารมณ์ในตนเอง, ความฉลาดทางอารมณ์ ระหว่างบุคคล, ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ, ปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดู, ปัจจัยด้านการรับรู้สภาพแวดล้อม

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the level of emotional quotient of undergraduate students 2) to study relationship between achievement motivation, personality, raising style factors and human environment perception of undergraduate students, and 3) to find the equation for prediction. A sample of 410 regular undergraduate students at Naresuan university was drawn from students who studied in the second semester 2008 by proportional stratified random sampling. The instruments used for collecting data were rating scale questionnaires considering the factors affecting the emotional quotient of undergraduate students. Collected data were analyzed by computer software to find frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, multiple regression, and to construct a predictable balance by Stepwise model.

The major results were as follows :

1. The overall emotional quotient of undergraduate students was at high level.

2. The positive factors related with emotional quotient of undergraduate students at significant level of .01 were logical raising style factor, pamper raising style factor, identify personality, achievement motivation, teacher human environment perception, and friend human environment perception.

3. The negative factors related with emotional quotient of undergraduate students at significant level of .01 were psychosis personality, depressive personality, and strict raising style factor.

4. The factors affecting total emotional quotient of undergraduate students at significant level of .01 were logical raising style factor, achievement motivation, identify personality, depressive personality, pamper raising style factor, strict raising style factor, psychosis personality, friend human environment perception, and teacher human environment perception which could predict at 77.80 percent (R2= 0.778) .

The equation for prediction could be made as follows :

The raw scores prediction of equation :

EQ = 1.005 + 0.292CAREDMO + 0.205AM + 0.105BHEXT - 0.053BHNEU + 0.140CAREFRE - 0.079CARESTC - 0.028BHPSY + 0.059EVFR + 0.051 EVTE

The standard scores prediction of equation :

ZEQ = 0.351ZCAREDMO + 0.235ZAM + 0.216ZHEXT - 0.129ZBHNEU + 0.205ZCAREFRE - 0.107ZCARESTC - 0.086ZBHPSY + 0.083ZEVFR + 0.071ZEVTE

5. The factors affecting Self EQ of undergraduate students at significant level of .01 were logical raising style factor, achievement motivation, identify personality, depressive personality, pamper raising style factor, strict raising style factor, and psychosis personality which could predict at 82.30 percent (R2= 0.823).

The equation for prediction could be made as follows :

The raw scores prediction of equation :

EQSELF = 0.691 + 0.429 CAREDMO + 0.179 AM - 0.100 CARESTC + 0.102 BHEXT - 0.041 BHNEU + 0.087 CAREFRE - 0.034 BHPSY

The standard scores prediction of equation :

ZEQSELF = 0.496ZCAREDMO + 0.197ZAM - 0.131ZCARESTC + 0.201ZBHEXT - 0.097ZBHNEU + 0.123ZCAREFRE - 0.099ZBHPSY

6. The factors affecting Interpersonal EQ of undergraduate students at significant level of .01 were pamper raising style factor, achievement motivation, identify personality, and depressive personality which could predict at 51.40 percent (R2= 0.514 ).

The equation for prediction could be made as follows :

The raw scores prediction of equation :

EQBTW = 1.548 + 0.279CAREFRE + 0.268AM + 0.140BHEXT - 0.101BHNEU

The standard scores prediction of equation :

ZEQBTW = 0.363ZCAREFRE + 0.273ZAM + 0.255ZBHEXT - 0.220ZBHNEU

 


Article Details

How to Cite
บัวสนธ์ ร., ศรีจำนง จ., ศรีติมงคล ร., ประวาลลัญฉกร จ., & จันทร์อินทร์ ภ. (2013). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Education and Innovation, 12(1), 129–146. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9216
Section
Research Articles