การประดิษฐ์บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพันผ้ายืดสำหรับตอขา

Main Article Content

ปิยธิดา นาคสกุล

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพันผ้ายืดสำหรับตอขาเพื่อเป็นบทเรียนช่วยสอนและทบทวนของนิสิตกายภาพบำบัด และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายในและระหว่างกลุ่มตัวอย่างและความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ประดิษฐ์ขึ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 62คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 31 คน) กลุ่มทดลอง ทบทวนบทเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนกลุ่มควบคุม ทบทวนบทเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนจากนั้นวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยการสอบปฏิบัติพันผ้ายืดตอขาก่อนและหลังจากการทบทวน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U Test และ Wilcoxon Signed Rank Test ตามลำดับ และประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนโดยรายงานคะแนนเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทาการเรียนระหว่างทั้งสองกลุ่ม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาภายในกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทบทวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต(p<0.05)0และจากการประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่าอยู่ในระดับดี สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การพันผ้ายืดสำหรับตอขาเป็นสื่อการเรียนการสอนอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นแบบทบทวนความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การพันผ้ายืด, ตอขา

 

Abstract

The purposes of this study were to invent the innovation of stump bandaginginstructional media for physical therapy students and to assess learning achievement within andbetween the sample groups. Satisfaction on invented media was also evaluated. The subjects were 62senior bachelor degree students in the field of physical therapy, Faculty of Allied Health Sciences,Naresuan University. They were divided into an experimental and a control groups (31 subjects foreach group). The experimental group studied and practiced with the innovation of stump bandaging0instructional media and the control group did with similar content but by hand - out paper. Learningachievement was assessed within and between groups by taking the laboratory exam of stumpbandaging before and after attending the media.0Mann-Whitney U Test and Wilcoxon Signed Rank Testwere used to analyze the differences of the total scores within and between groups. Satisfaction oninvented media was also evaluated and presented as mean and standard deviation (mean±SD). Theresults showed that there was no statistically significant difference between the experimental andcontrol group (p>0.05) but the posttest score within groups were significant higher than pretest scores (p<0.05) within two groups, especially in experimental group. The satisfaction on this innovation wasin good level. Therefore, the innovation  of stump0bandaging instructional media may be an alternativetutorial and practicing media for physical therapy students.

Keywords : Stump Bandaging, Instructional Media, Innovention

Article Details

How to Cite
นาคสกุล ป. (2013). การประดิษฐ์บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การพันผ้ายืดสำหรับตอขา. Journal of Education and Innovation, 15(2), 80–85. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9229
Section
Research Articles