การพัฒนากลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก

Main Article Content

ดลนภา ท้วมยัง
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากลยุทธ์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพร่างกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 3) เพื่อทดลองใช้กลยุทธ์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 4) เพื่อประเมินผลกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก

การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินการของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 379 แห่ง วิเคราะห์เอกสารการประเมินทั้งภายในและการประเมินภายนอกสถานศึกษาขนาดเล็กและการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพร่างกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยการร่างกลยุทธ์และคู่มือการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก การตรวจสอบคุณภาพของร่างกลยุทธ์และคู่มือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ การตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้กลยุทธ์ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก และขั้นตอนที่ 4 การประเมินกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยการประชุมสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. การศึกษาสภาพการดำเนินการของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า มีการดำเนินการของการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก อยู่ในระดับมาก สถานศึกษาขนาดเล็กมีจุดแข็งคือ มีแหล่งเรียนรู้และบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาและใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน มีจุดอ่อน คือขาดการนำ ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานในโครงการหรือกิจกรรมมาปรับปรุงพัฒนางาน

2. การสร้างและตรวจสอบร่างกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของผู้ทรงคุณวุฒิปรากฏว่ามี 5กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์ย่อย 34 กลวิธี 37 ตัวชี้วัด และคู่มือ 1 เล่ม

3. การทดลองใช้กลยุทธ์การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่าสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีการปฏิบัติเป็นแบบอย่างมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสถานศึกษาขนาดเล็กปกติตามลักษณะ/สภาพการปฏิบัติ

4. การประเมินผลกลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กพบว่ามีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากและมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : กลยุทธ์, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สถานศึกษาขนาดเล็ก

 

Abstract

The main purpose of this research was to develop a strategic model for small-sized schoolsadministration applying the philosophy of sufficiency economy. The specific purposes were 1) to surveythe present practices of small-sized schools administration applying the philosophy of sufficiencyeconomy 2) to draft a strategic model applying the philosophy of sufficiency economy for small- sizedschools administration 3) to implement the strategic model in sample small-sized schools and 4) toevaluate the strategic model of small- sized schools administration.

The research methodology followed 4 steps 1) to survey the present practices of small- sizedschools administration using 379 samples of small- sized schools administration includingdocumentary analysis of school quality assurance and interview with schools administratory 2) to draftthe strategic model for small-sized schools administration applying the philosophy of sufficiencyeconomy and to examine the suitability of the model by the experts 3) to experiment the strategicmodel in 6 small- sized schools 4) to evaluate strategic model by connoisseurship.

The research findings were as follows :

1) The survey of practices in small- sized schools administration applying the philosophy ofsufficiency economy revealed that those small- sized schools applied the philosophy of sufficiencyeconomy in school administration at the high level. The administration was strengthened by teachingand learning sources and environity participation. However the administration was weaken by the lackof project evaluation improving.

2) The draft of the strategic model applied the philosophy of sufficiency economy examined bythe experts showed that there were 5 strategies, 11 sub-strategies, 34 practices, 37 indicators.

3) The implementation of the strategic model with in sample small- sized schools revealedbest practices in schools administration of applying the philosophy of sufficiency economy.

4) The evaluation of the strategic model to apply the philosophy of sufficiency economy forsmall-sized schools administration by connoisseurship showed results at a high level in the feasibilityand at a highest level in usefulness of the model.

Keywords : strategies, the philosophy of sufficiency economy, small schools administration

Article Details

How to Cite
ท้วมยัง ด., ชาตรูประชีวิน ฉ., ภักดีวงศ์ ภ., & กอนพ่วง อ. (2013). การพัฒนากลยุทธ์การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก. Journal of Education and Innovation, 15(1), 33–47. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9301
Section
Research Articles