การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการมีภาวะผู้นำ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

อัมเรศ เนตาสิทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของรูปแบบการเรียนการสอน ที่ใช้สอนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1)ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศ 5 แห่ง และต่างประเทศ 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์University of Cambridge, Harvard University, Yale University, University College London (UCL)และ Massachusetts Institute of Technology (MIT) 2) ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ที่สอนในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในภาคเหนือ รวมทั้งสิ้นจำนวน30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาระ และแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า

ผลการวิจัยพบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สำคัญ เช่น ระบบจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Learning) ประยุกต์การเรียนการสอนผ่านแอพลิเคชันบนมือถือ (m-Learning) สอนแบบเน้นวิจัย (Research-Based Learning:RBL) และจัดกระบวนการเรียนการสอนเชิงการบริการสังคม (Service Learning) เป็นต้น

รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมภาวะผู้นำ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบไปด้วย 3องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านเทคนิคการสอน ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสอน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในแต่ละองค์ประกอบหลักจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อยรวมทั้งหมด 31 องค์ประกอบอาทิ ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) การใช้กระดานสนทนาออนไลน์ การจัดทำคลังรายวิชา (Open Courseware) การฝึกงานในสถานที่ประกอบการ (Job Training inthe real enterprise sectors) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ(Seminar and Workshop)

คำสำคัญ: วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ, รูปแบบการเรียนการสอน

 

Abstract

This study aimed to analyze the best practices instructional model for teaching andlearning in graduate level and to develop leadership instructional model for graduate students.Two types of sample group were designed in this research 1) The documentary analysis ofinstructional best practices of 10 universities, 5 universities in Thailand and other 5 in overseauniversities: They were Chulalongkorn University, Mahidol University, Chiang Mai University,Thammasat University, Prince of Songkla University, University of Cambridge, HarvardUniversity, Yale University, University College London (UCL), and Massachusetts Institute ofTechnology (MIT) 2) A survey of 30 instructors teaching in the graduate level of Northern Thaiuniversities to collect their opinions on graduate students leadership using the questionnaire ofrating-scale type. The results of this research were as follows:

1) The important instructional methods for best practices in the graduate levelconsisted of learning through internet network (e-learning), mobile phone application (m-learning),research-based learning (RBL), and social service learning (Service learning)

2) The leadership instructional model for graduate students consisted of 3 componentsnamely; teaching-learning techniques, innovative and technological teaching-learning and activityassignment teaching-learning. These 3 components indicated 31 best practices of instructionsuch as Problem-based learning (PBL), Open coursewere data, Job training in the realenterprise sectors, workshop and seminar.

Keywords: Best Practice, Instructional model for Graduate level.

Article Details

How to Cite
เนตาสิทธิ์ อ. (2013). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการมีภาวะผู้นำ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. Journal of Education and Innovation, 15(1), 48–59. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9303
Section
Research Articles