รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ

Main Article Content

พรฐิตา ฤทธิ์รอด
วิทยา จันทร์ศิลา
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
สำราญ มีแจ้ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจโดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ ประกอบด้วย 3องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ระดับบุคคล มี 5 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย 1) การเพิ่มพูนความสามารถและทักษะ 2) การเคารพการตัดสินใจและการให้อิสรภาพ 3) การกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน 4) การให้แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 5) การคาดหวังผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน โดยมีแนวทางการเสริมพลังอำนาจ 30 แนวทาง องค์ประกอบหลักที่ 2 ระดับทีมงาน มี 7 องค์ประกอบย่อยประกอบด้วย 1) การให้ความชัดเจนในบทบาทและหน้าที่ 2) การสร้างทีมงาน 3) การสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน 4) การให้อิสระแก่ทีมงานในการปฏิบัติงาน 5) การให้ข้อมูลสารสนเทศ 6) การสร้างความสัมพันธ์และค่านิยมร่วมกัน 7) การสร้างระบบการติดต่อสื่อสาร โดยมีแนวทางการเสริมพลังอำนาจ 27 แนวทางองค์ประกอบหลักที่ 3 ระดับองค์กร มี 7 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือ 2) การกระจายอำนาจในองค์กร 3) การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน 4) การบริหารจัดการองค์กร 5) การยอมรับการเปลี่ยนแปลง 6) การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้มีความยืดหยุ่น 7)การให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยมีแนวทางการเสริมพลังอำนาจ 26 แนวทาง ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากและมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร, การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การเสริมพลังอำนาจ

 

Abstract

This research was to develop a model of empowerment in basic school administration.The study was conducted through three phases : phase 1, studying components and guidelinesfor practice of empowerment in basic school administration. ; phase 2, drafting a tentativemodel of empowerment in basic school administration and ; phase 3, evaluating the constructedmodel of empowerment in basic school administration.

The study reveals that the model of empowerment in basic school administrationconsists of 3 main-components with overall 19 sub-components associated with 83 practiceindicators. The first main- component at individual level, consists of 5 sub-components : 1)build up ability and skills 2) respect decision-making and freedom 3) set standard of excellence4) give motivation of job performance 5) expect results of job performance, with overall 30associated practice indicators ;the second main-component at teamwork level, consisting of 7sub-components : 1) clearly define responsibilities 2) team building 3) create good environmentfor job performance 4) allow freedom to teamwork doing their job 5) access to information 6)build relationship and share-value together 7) build system of communication, with overall 27associated practice indicators ; and the third main-components at organization level, consistingof 7 sub-components : 1) support and develop cooperation 2) decentralize of power inorganization 3) verify and evaluate job performance 4) organizational management 5) acceptchange 6) improve organizational structure for flexibility 7) give feedback, with overall 26associated practice indicators. The model of the empowerment in basic school administrationhas been evaluated at a high level of both feasibility and usefulness.

Keywords: Administrative Models, Basic Schools Administration, Empowerment

Article Details

How to Cite
ฤทธิ์รอด พ., จันทร์ศิลา ว., ชาตรูประชีวิน ฉ., & มีแจ้ง ส. (2013). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ. Journal of Education and Innovation, 15(1), 60–69. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9304
Section
Research Articles