การพัฒนาความสุขในพุทธธรรม

Main Article Content

พระครูธรรมธร ครรชิต คุณวโร

Abstract

บทคัดย่อ

การพัฒนามนุษย์ให้มีความสุขคือ จุดมุ่งหมายในหลักพระพุทธศาสนา หลักการของพุทธธรรมคือมนุษย์จะประเสริฐและมีความสุขได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนา ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้องการดลบันดาลจากสิ่งใดความสุขตามหลักพุทธธรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ และมีข้อดี ข้อเสีย และวิธีการพัฒนาแตกต่างกัน หลักพุทธธรรมได้ให้แนวทางในการปฏิบัติต่อความสุขในแต่ละระดับอย่างถูกต้องทำให้มนุษย์สามารถฝึกฝนพัฒนาชีวิต จิตใจและปัญญาให้เข้าถึงความสุขในแต่ระดับได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล การพัฒนาความสุขตามหลักพุทธธรรมไม่ได้มุ่งเดียงแค่ให้มนุษย์มีความสุขเท่านั้น แต่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดทุกข์หรือปัญหาในภายหลังและพัฒนาสูงขึ้นไปจนเป็นความสุขที่ปราศจากทุกข์ทั้งหลายโดยสิ้นเชิง หรือนิพพาน ในการพัฒนาความสุขนั้นจะพัฒนาจากความสุขในระดับต้น ๆ ที่เป็นชั้นหยาบ ยังก่อให้เกิดทุกข์ได้ในภายหลังแต่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับคนทั่วไปเป็นฐานก่อนเมื่อคนเริ่มมีความสุขในขั้นต้นแล้วก็จะไม่ให้หยุดลงเพียงแค่นั้น แต่ใช้ความสุขในขั้นต้นๆ เป็นฐานในการพัฒนาความสุขขั้นสูงยิ่งขึ้นต่อไป เป็นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวมทั้งในด้นพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาตามหลักธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ ปฏิบัติจนได้ผล และนำมาสั่งสอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตามจนได้ผลมาแล้วมากกว่า 2,500 ปี

 

Abstract

Development of human happiness is the main goal of Buddhadhamma (BuddhistPrinciples). According to Buddhadhamma, human will achieve the excellence and happiness bydeveloping himself in the right way, not by a petition or ask any causality, the happiness inBuddhadhamma can be divided into several levels and has different advantages anddisadvantages. Each level of happiness has different ways to achieve. Buddhadhamma providethe approach to develop and participate with each level of happiness in the right way. Humanshall practice behavior and moral development, mental development and wisdom development inorder to reach happiness in each level. The achievement alsodepend on the capacity of eachindividuals, too. The development are not aimed only the human happiness, but considering theimpact that will be occurred subsequent to the individual, society, environment and should notcause suffering afterward. The development will begin from developing happiness which iseasily accessible for the common human which may not perfect and can cause sufferingafterward as a base to develop to higher levels of happiness. The development is and holisticapproach in terms of behavior, mind and wisdom. The principle is base on the law of nature which Buddha found, practiced, achieved the results and taught others to achieve for more than2,500 years ago.

Article Details

How to Cite
คุณวโร พ. ค. (2013). การพัฒนาความสุขในพุทธธรรม. Journal of Education and Innovation, 15(1), 91–99. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9316
Section
Full Issue