การศึกษาครูกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อความงอกงามของคนและสังคม

Main Article Content

อมรรัตน์ วัฒนาธร

Abstract

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เขียนขึ้นจากความสนใจเรื่องการจัดการศึกษาครูเพื่อสร้างครูคุณภาพ ผู้เขียนเห็นว่าสาระของบทความที่นำมาเสนอพร้อมบทความฉบับนี้ สามารถชี้ให้เห็นถึงความคิดและประสบการณ์ของนักการศึกษาครูชาวอเมริกันท่านหนึ่งซึ่งนำเสนอแนวคิดของตนในการพัฒนาการศึกษาครูได้อย่างตรงไปตรงมาและชัดเจน เห็นแนวทางในการสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการนำเสนอสามวิสัยทัศน์ อันประกอบด้วย ด้านความเป็นวิชาชีพ ด้านการยกเลิกกฎระเบียบเดิม และด้านความเป็นธรรมในสังคม อีกทั้งยังจัดกรอบการจัดการศึกษาครูให้กับสถาบันผลิตครูระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยโดยเปลี่ยนแปลงที่ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปแบบและกระบวนการจัดโปรแกรมการศึกษาด้วยสี่ด้านหลัก อันได้แก่ การปฏิบัติการจัดกรอบใหม่ให้กับโปรแกรมการศึกษาครูแบบทางเลือกและโปรแกรมการศึกษาครูแบบเก่า การตั้งเป้าหมายของการศึกษาให้กว้างกว่าการพิจารณาที่คะแนนผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ได้จากแบบทดสอบมาตรฐาน การเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของโปรแกรมการศึกษาครู และการจัดการศึกษาครูอย่างจริงจังในสถาบันการศึกษา ซึ่งความคิดและประสบการณ์ของท่านอาจจะไม่สามารถนำมาใช้ในสังคมไทยได้ทั้งหมดแต่มีหลายส่วนที่สามารถนำมาประยุกต์เพื่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับโปรแกรมการศึกษาครูมุ่งสู่ครูคุณภาพและสอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงของไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

 

Abstract

This article is written with the interest of teacher education for inculcating qualityteacher. An American teacher educator suggested us on how to develop teacher educationstraightforwardly and clear-cuttingly. In his article, the strength of teacher education could bebuilt up with three visions ; professionalization, deregulation and social practice. He alsoproposed shaping the future of college and university-based teacher education in four aspects ;reframing the debate about traditional versus alternative programs, broadening our view of thegoals of teacher education and of teachers’ roles, changing the center of gravity in teachereducation and talking teacher education seriously in colleges and universities. His views andexperiences might not be all used in Thai social context. However, most parts could be appliedto use for the change of teacher education programs leading to quality teacher associated tothe changing of Thai social context.

Article Details

How to Cite
วัฒนาธร อ. (2013). การศึกษาครูกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อความงอกงามของคนและสังคม. Journal of Education and Innovation, 15(1), 111–116. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9319
Section
Full Issue