การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการจัดการความรู้ : กรณีศึกษาการเพิ่มปริมาณผลผลิตการปลูกกล้วยหอมทองหมู่ที่ 3 บ้านวังวน ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการจัดการความรู้ : กรณีศึกษาการเพิ่มปริมาณผลผลิตการปลูกกล้วยหอมทองหมู่ที่ 3 บ้านวังวน ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน จัดการความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเพิ่มปริมาณผลผลิตการปลูกกล้วยหอมทอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การเพิ่มปริมาณผลผลิตการปลูกกล้วยหอมทอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการศึกษาเอกสารควบคู่กับการวิจัยภาคสนาม
ผลการศึกษาบริบท พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ดินมีลักษณะเป็นดินตะกอนที่ทับถมมีทั้งดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งจนถึงดินเหนียว เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทำการเกษตร ซึ่งชาวบ้านวังวนมีการปลูกกล้วยหอมทองสืบทอดมาเป็นเวลาช้านาน และมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการปลูกกล้วยหอมทองอย่างแท้จริง จำนวน 13 คน มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองเฉลี่ย 1.79 ไร่ โดยมีองค์ความรู้ในการเพิ่มปริมาณ ผลผลิตการปลูกกล้วยหอมทอง อาทิเช่น การเตรียมหน่อพันธุ์เพื่อปลูกให้ตัดยอดที่เป็นหน่อจากต้นแม่ในช่วงที่หน่อมีลักษณะหน่อใบแคบหรือหน่อใบดาบ การเตรียมดินให้ไถพรวนกลบดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วตากแดดทิ้งไว้ 7–10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1–2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แล้วพรวนกลบ การวางแนวการปลูกจะวางแนวเหนือ-ใต้ ใช้ระยะปลูก 2.50 X 2.50 เมตร = 500 ต้น/ไร่ การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมให้มีขนาดความลึกXกว้างXยาว ประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร วิธีการปลูกตั้งต้นหน่อพันธุ์ในหลุมให้ตรงและลึก 30 เซนติเมตร โดยหันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อออกจากต้นแม่ไว้ในทิศทางเดียวกันทุกหลุมเพื่อสะดวกในการเก็บเครือ การใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้นำมารวบรวมและจัดทำเป็นหนังสือเล่มเล็กเพื่อให้ความรู้กับชาวบ้าน สำหรับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วย เหตุผลและความจำเป็น จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร เนื้อหา หน่วยการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมแนวการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล เอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 11 แผน 16 ชั่วโมง การประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่นในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนหลังการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่น พบว่า ครูทุกคนเห็นว่าหลักสูตรท้องถิ่นมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก และนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
คำหลัก : หลักสูตรท้องถิ่น, เศรษฐกิจพอเพียง, การจัดการความรู้, การเพิ่มปริมาณผลผลิต, กล้วยหอมทอง
Abstract
The development of a local curriculum on sufficiency economy through knowledge management: A case study of an increase in golden banana productivity in village 3 of Ban Wagwon, Tambon Tapo, Muang District of Phitanulok Province aimed at studying the planting context, the knowledge body of knowledgeable villagers,the knowledge management of local wisdom in increasing golden banana productivity based on sufficiency economy, and developing a local curriculum on an increase of golden banana productivity based on sufficiency economy. The research employed qualitative methods including document analysis and field study. The research results revealed that the bananas in this area are mostly grown on low land with different types of soil : silt, loam, silty clay loam and clay. The bananas planting in Ban Wangwon village has been passed down for ages. Thirteen villagers are found to possess the knowledge of growing golden bananas and each utilizes the average land of 1.79 rai for the planting. The knowledge to increase golden banana productivity could be detailed as follows : In selecting the planting materials, suckers are cut from the banana plant. These suckers should have small, sword-like leaves. In preparing the planting site, the land is ploughed at the depth of 30 cm and left for about 7-10 days. Compost or well composted manure are added to the soil at the proportion of 1-2 kg per square meters before it is raked and filled. The planting is done in the 2.50m X 2.50m plot of land, resulting in 500 banana trees per rai. The holes of 45-50 cm wide, 45-50 long, and 45-50 deep are dug in line. In planting the banana tree, the sucker is put into the hole of 30cm deep, with the cut surface turning to the same direction for the ease of harvesting. This local wisdom is written into a booklet and distributed to other villagers for knowledge sharing. The developed local curriculum contains rationales, objectives, curriculum structure, learning units, expected outcomes, time for conducting activities, instructional methods, materials and learning sources, measurement and evaluation. The supplementary curriculum materials are 11 lesson plans for 16 hours of teaching. The developed curriculum was rated for its appropriateness by the experts, and it was found to be appropriate at a high level. After the implementation, the data from the interview with the teachers who used the curriculum revealed that the curriculum was highly appropriate, and the students were highly satisfied with the curriculum.
Key word : Local Curriculum, Sufficient Economy, Knowledge Management, Increase in Productivity, Golden Banana
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.