การวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในประเทศไทย

Main Article Content

มีแจ้ง อารีรักษ์
ดุษฎี รุ่งรัตนกุล
นันทวัน ชุมตันติ
อภิชัย รุ่งเรือง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย ใช้วิธีการประเมินแบบผสมผสาน โดยประยุกต์แนวคิดของการประเมินตนเอง การประเมินอิงวัตถุประสงค์ การประเมินเชิงระบบและการประเมินตามสภาพจริงเข้าด้วยกัน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ขั้นตอนการประเมินประกอบด้วย 1) การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ ERIC จำนวน 192 แห่งทั่วประเทศ ด้วยการใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ใน 4 ด้านคือ ด้านความพร้อมของปัจจัยนำเข้า ด้านการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ด้านผลผลิต ด้านปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน 2) การประเมินผลการดำเนินงานในเชิงลึก และผลกระทบจากการดำเนินงานของศูนย์ ERIC ที่มีต่อครูผู้สอนภาษาอังกฤษ นักเรียน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการจากศูนย์ ERIC ที่ดำเนินการอยู่ในแต่ละภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 ศูนย์ 3) การประเมินผลเพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม โดยการจัดสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการ และผู้รับบริการจากศูนย์ ERIC ใน 5 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการดำเนินงานของศูนย์ ERIC ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพบว่า ศูนย์มีปัญหาเกี่ยวกับบุคลากร การดำเนินงาน และงบประมาณ งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกลุ่มศูนย์ ERIC ที่มีผลประเมินการดำเนินงานอยู่ในระดับใกล้เคียงกันออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 13 ศูนย์ กลุ่มที่ 2 มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี จำนวน 88 ศูนย์ กลุ่มที่ 3 มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 44 ศูนย์ และกลุ่มที่ 4 มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับควรปรับปรุง จำนวน 5 ศูนย์ 2) ผลการประเมินในเชิงลึกพบปัญหาการขาดความพร้อมของศูนย์ด้านปัจจัยนำเข้าในประเด็นของสถานที่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ ความร่วมมือจากบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์คือ ความพร้อมของโรงเรียนที่ตั้งศูนย์ทั้งสถานที่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ การสนับสนุนของผู้บริหาร ความร่วมมือของครูในหมวดวิชาภาษาอังกฤษ ศักยภาพ บุคลิกภาพและ มนุษยสัมพันธ์ของผู้จัดการศูนย์ ระบบการประสานงานที่ดีระหว่างศูนย์กับสำนักงานเขตพื้นที่ ความร่วมมือของโรงเรียนและครูที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการ และการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนผลกระทบจากการดำเนินงานของศูนย์ ERIC คือครูได้รับการพัฒนาตนเองในด้านภาษา ได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ส่วนนักเรียน และบุคคลภายนอกยังได้รับการบริการในวงจำกัดเนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุน 3) รูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมของศูนย์ ERIC ด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ศูนย์ควรมีการจัดโครงสร้างขององค์กรและระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละศูนย์ ด้านบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ละหน่วยงานควรมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านปัจจัยสนับสนุน ศูนย์ควรได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ อาทิ งบประมาณ บุคลากร นโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

Abstract

This study was aimed to evaluate the performance of ERICs in Thailand by using a mixed method of self evaluation, objective evaluation, system evaluation, and authentic evaluation. The method was employed to collect both quantitative and qualitative data with 3 phases as follows:1) To obtain data on the overall performance, questionnaires were distributed to 192 ERICs to evaluate their performance in 4 areas including input factors, objective-based performance, output factors, and performance obstacles; 2) To gather more data, in-depth group interviews with ERIC staff and clientele in 11 regional and Bangkok ERICs were conducted with the purpose to evaluate the centres’ performance and their consequences 3) To propose an appropriate working model as well as possible solutions, focus group technique with ERIC stakeholders in 5 regions and Bangkok was held. The findings of the study were as follows: 1) Overall, the performance of ERICs in Thailand was rated at a moderate level. Regarding the details of each area, it was found that the input factors were rated at a medium level, objective-based performance, a low level, and outputs, a high level. As for obstacles, it was found that the centres had problems in personnel, working processes, and budget. The findings also revealed that the ERICs which were rated to have relatively the same level could be divided into 4 groups: highest performance group (13 ERICs), high performance group (88 ERICs), moderate performance group (44 ERICs), and to be improved group (5 ERICs). 2) Most ERICs lack availability of input factors, namely, centre space, personnel, materials, budget, and cooperation of personnel and related organizations. Factors affecting the success of the centres were: resources availability including school space, personnel and materials, supports from school administrators, English teachers’ cooperation, ERIC managers’ potential, personality and good human relationship, a good cooperative system between ERICs and the office of the educational areas, cooperation of schools and teachers in the areas, supports of budget from the Office of Basic Education. As for the consequences, it was found that ERICs play an important role in improving teachers’ language skills, and their teaching knowledge; however, students and people in the community do not get much service due to the lack of budget. 3) The proposed ERIC working model concerns with the appropriate administrative structure which can be varied depending on the context of each centre, the roles of the related organizations that should be clearly specified and strictly followed, and the support factors, e.g. budget, personnel, and policy in order that the centre can work efficiently.

Article Details

How to Cite
อารีรักษ์ ม., รุ่งรัตนกุล ด., ชุมตันติ น., & รุ่งเรือง อ. (2013). การวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในประเทศไทย. Journal of Education and Innovation, 13(2), 55–72. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9345
Section
Research Articles