ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อการปลูกฝังจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ

Main Article Content

ฉันทนา จันทร์บรรจง
จิตราภรณ์ ใยศิลป์
สุภาภรณ์ กิติรัชดานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบายรัฐบาลระหว่างปี พ.ศ. 2540-2551 เกี่ยวกับการปลูกฝังจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ 2)เพื่อศึกษาสภาพและผลการดำเนินงานตามนโยบาย 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบาย 4) เพื่อเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศญี่ปุ่น และเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้ ระเบียบวิธีวิจัย เป็นแบบผสม (Mixed Methods) ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายของรัฐบาลไทยไม่ต่อเนื่องกัน และไม่ชัดเจน แต่นโยบายในกฎหมายการศึกษาและหลักสูตรได้กำหนดเรื่องจิตสาธารณะไว้ชัดเจน เพียงแต่ยังไม่ชัดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม 2) การดำเนินงานตามนโยบาย ตามความคิดเห็นของครู 380 คน พบว่า อยู่ในระดับมาก แต่ผลการทดสอบความรู้ ทักษะ และเจตคติของนักเรียน 2,330 คน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 58.96 3) ผลกระทบของนโยบายต่อการบริหารสถานศึกษามีทั้งบวกและลบ ความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งสำรวจจากผู้บริหารสถานศึกษา 247 คน และครู 328 คน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) การศึกษานโยบายของประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่า นโยบายของญี่ปุ่นชัดเจนกว่า หลักสูตรเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กมากกว่า ตำราเรียนและระบบควบคุมคุณภาพตำราเรียนดีกว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ 31 ท่าน จึงเสนอการปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับการปลูกฝังจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับของไทย 7 ประการ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายด้านจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม ในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายด้านความเป็นพลเมืองในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ 3) การจัดตั้งคณะกรรมการวิจัยและอนุมัติตำราเรียนสำหรับการศึกษาภาคบังคับที่เชี่ยวชาญ 4) การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา 5) การปรับโครงสร้างและนิยามของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 6) การกำหนดให้ครูและผู้บริหารสถานศึกษามีจิตสาธารณะและรับผิดชอบต่อสังคม 7) การกำหนดให้สถานศึกษาทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สนองนโยบายของทั้งหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานอื่น เพื่อขจัดความซ้ำซ้อน

คำสำคัญ : นโยบายการศึกษา, จิตสาธารณะ, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การศึกษาภาคบังคับ

 

Abstract

This research aimed at 1) analyzing the public policies related to the cultivation of civic-mindedness and social responsibility in compulsory school students in Thailand during 1997-2008; 2) identifying the state of policy implementation and its outcomes; 3) clarifying the policy impacts; and 4) comparing with the case of Japan and proposing for improvement of the policies related to civic education of Thailand. The research methodology was based on mixed methods.

The findings were: 1) the government policy statements on the issues of the cultivation of civic-mindedness and social responsibility of compulsory school pupils were not clear enough and could not be implemented continuously. Though the legal statements and national curriculum stated clearly on the cultivation of civic-mindedness, but not on the social responsibility; 2) the policy implementation as viewed by 380 teachers was at high level, but the test result from 2,330 students was averagely only at 58.96 per cent; 3) the policy impacts to school management were both positive and negative, and the school principals and teachers highly satisfied with the civic-mindedness and social responsibility of students completing compulsory schools; 4) the comparison with the case of Japan revealed that Japan had clearer policies on the two issues, the national curricula were more suitable to children’s stages of development, better textbooks and textbook authorization system, thus the 31 experts proposed that 7 points of policy should be improved; 1) stating about civic-mindedness and social responsibility in Article 7 of the National Education Act, 2) stating about citizenship education in the Compulsory Education Act, 3) establishing the expert-based committee for research and authorization of compulsory school textbooks, 4) revising the primary education curriculum in the area of Social Studies, 5) restructuring and redefining the Student Development Activity, 6) requiring that teachers and school administrators be equipped with civic-mindedness and social responsibility, and 7) requiring that each school considers all policies concerned when designing its annual school plan, in order to avoid overlapping.

Key words : educational policies, civic-mindedness, social responsibility, compulsory education

Article Details

How to Cite
จันทร์บรรจง ฉ., ใยศิลป์ จ., & กิติรัชดานนท์ ส. (2013). ผลกระทบของนโยบายรัฐบาลต่อการปลูกฝังจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ. Journal of Education and Innovation, 13(2), 73–92. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9348
Section
Research Articles