การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
สำลี ทองธิว
วารีรัตน์ แก้วอุไร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และ 2) ประเมินคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา การดำเนินการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรรายวิชาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการสร้างหลักสูตรรายวิชาวิชาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบ อัตลักษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรรายวิชาและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชา แบ่งเป็นการประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชาโดยการนำไปทดลองใช้กับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปี่ที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 20 คน เป็นระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. เนื้อหาของหลักสูตรรายวิชาแบ่งออกเป็น 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความขัดแย้ง เวลา 4 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรุนแรง เวลา 3 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อัตลักษณ์ เวลา 4 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วาทกรรม เวลา 2 ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์ เวลา 3 ชั่วโมง และหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การฝึกปฏิบัติตามกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์ เวลา 32 ชั่วโมง กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การระบุปัญหาความขัดแย้งในสังคมกรณีความรุนแรงของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง การวิเคราะห์ตนเองตามกรอบอัตลักษณ์ของกลุ่มตนเอง การแสดงจุดยืนของตนเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้ง การค้นหาสาเหตุและที่มาของความขัดแย้งและแสดงเหตุผลของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง การเปลี่ยนกรอบวิเคราะห์ตามกรอบอัตลักษณ์ของกลุ่มอื่น และการสรุปจุดยืนของตน

2. การประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า คุณภาพหลักสูตรรายวิชาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับดี และการประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชาโดยการนำไปทดลองใช้ พบว่า และการประเมินคุณภาพหลักสูตรรายวิชาโดยการนำไปทดลองใช้ พบว่า นิสิตกลุ่มทดลองที่ใช้หลักสูตรรายวิชามีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ สูงกว่าร้อยละ 60

คำสำคัญ : การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรรายวิชา, การแก้ปัญหาความขัดแย้ง, กรอบอัตลักษณ์, การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

 

Abstract

The objectives of this research were to 1) develop the conflict resolution course curriculum based on identity frame approach to enhance critical thinking ability in social conflict resolution of undergraduate students; 2) evaluate the quality of conflict resolution course curriculum based on identity frame approach. This study was research and development (R&D). The three steps of the conflict resolution course curriculum were: 1) Analyzing basic data for the construction of course curriculum 2) Constructing course curriculum and supplementary materials; outlining course curriculum; and 3) evaluating the course curriculum. The quality evaluation of the conflict resolution course curriculum was assessed by the experts while the quality evaluation of the conflict resolution course curriculum implementation was experimented to 20 third year students at Faculty of Education, Naresuan University. The duration of this experiment was 16 weeks. The research instruments for collecting data was the critical thinking ability in social conflict resolution evaluation form. The results of research as follows;

1. The content of conflict resolution course curriculum based on identity frame approach. It was composed of 6 learning units; 1) The first one: Conflict, a 4-hour learning unit, the second one: Violence, a 3-hour learning unit, the third one: Identity, a 3-hour learning unit, the forth one: Discourse, a 4-hour learning unit, the fifth one: Social Conflict Resolution based on identity frame approach, were imposed in students by mean of shared learning among peer group and the practices discipline learning in Social Conflict Resolution based on identity frame approach was trained in the process of Social Conflict Resolution based on identity frame approach within 6 steps; Identifying the conflict, Stating the standpoint and rational, Collecting supporting data of the same group, Reframing data from the opposite group, Announcing the student’s standpoint.

2. The experts have evaluated the course curriculum and agreed that the quality of the course curriculum was at geed level while the quality evaluation of the course curriculum implementation was experimented and it was found that the average score of critical thinking ability in social conflict resolution of the students learning through the developed course curriculum was higher than 60 percent which was the criterion score.

Key word : Research and development of course curriculum, Conflict resolution, Identity frame, Critical thinking in social conflict resolution

Article Details

How to Cite
ธำรงโสตถิสกุล ว., ทองธิว ส., & แก้วอุไร ว. (2013). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวคิดกรอบอัตลักษณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. Journal of Education and Innovation, 13(2), 93–118. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9349
Section
Research Articles