รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

โฉมฉาย โฉมฉาย
ฉันทนา จันทร์บรรจง
วิทยา จันทร์ศิลา
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบ การบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานวิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสำรวจสภาพปัจจุบันประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานกิจการนักเรียน ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน ผู้แทนผู้นำชุมชน ผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนผู้นำทางศาสนา ในโรงเรียนจำนวน 381 โรงเรียน จำนวนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 2,667 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ประกอบด้วยผู้บริหารสถาน ศึกษาระดับประถมศกษาในโรงเรียนรางวัลพระราชทานประจำปีพุทธศักราช 2551-2552 จำนวน 6 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ขั้นตอนที่ 2) การสร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบมาตรฐาน มาตรฐานความเหมาะสม (Propriety Standard) และด้านมาตรฐานความเป็นไปได้ (Feasibility Standard) ของรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานความเหมาะสม (Propriety Standard) ของคู่มือประกอบ การใช้รูปแบบฯ จำนวน 9 คน โดยวิธีการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ขั้นตอนที่ 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลโดยการเลือกสถานศึกษาระดับประถมศึกษา 1 แห่ง เป็นสถานที่ทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 4) การประเมินรูปแบบ การบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มทดลองซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เพื่อประเมินมาตรฐานความเหมาะสม (Propriety Standard) และมาตรฐานความเป็นประโยชน์ (Utility Standard) ของรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการนำไปใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกได้ดังนี้

1.1 การสำรวจสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ 1) ควรมีองค์คณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนโดยเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงาน 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนอยู่ในระดับปานกลางในทุกขั้นของกระบวนการมีส่วนร่วมทั้ง 5 ขั้น โดยดำเนินการในขอบข่ายของงานกิจการนักเรียน 3 งาน ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ งานสวัสดิการนักเรียน งานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.2 การสัมภาษณ์สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนรางวัลพระราชทาน มีดังนี้ 1) องค์คณะบุคคลที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียน ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการที่ปรึกษากิจการนักเรียน คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนจำนวน 9-15 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางกิจการนักเรียน จำนวน 3-6 คน (2) คณะกรรมการดำเนินงานกิจการนักเรียน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานกิจการนักเรียน ตัวแทนครู จำนวน 6 คน ตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน 2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกิจการนักเรียน ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการที่ปรึกษากิจการนักเรียนมีบทบาทหน้าที่คือ การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) การเสนอแนะ (Coaching) การสนับสนุนและส่งเสริม (Support and Promote) (2) คณะกรรมการดำเนินงานกิจการนักเรียนมีบทบาทหน้าที่คือ การตัดสินใจ (Decision making) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Doing) การประเมินผล (Checking) การปรับปรุงและพัฒนางาน (Action) และการรายงานผล (Reporting) 3) ขอบข่ายงานกิจการนักเรียนที่สำคัญ ประกอบด้วย งานสวัสดิการนักเรียน งานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและงานกิจกรรมเพิ่มเติม

2. การสร้างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการใน 3 ส่วน ดังนี้

2.1 การยกร่างรูปแบบฯ และการยกร่างคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรูปแบบฯ มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ 1) คณะกรรมการบริหารกิจการนักเรียน ได้แก่ คณะกรรมการที่ปรึกษากิจการนักเรียน และคณะกรรมการดำเนินงานกิจการนักเรียน 2) ขอบข่ายงานกิจการนักเรียน ได้แก่งานสวัสดิการนักเรียน งานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและงานกิจกรรมเพิ่มเติม 3) กระบวนการบริหารกิจการนักเรียน ได้แก่ คณะกรรมการที่ปรึกษากิจการนักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียนคือ การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) การเสนอแนะ (Coaching) การสนับสนุนและส่งเสริม (Support and Promote) คณะกรรมการดำเนินงานกิจการนักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการนักเรียน คือ การตัดสินใจ (Decision making) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Doing) การประเมินผล (Checking) การปรับปรุงและร่วมพัฒนา (Action) การรายงานผล (Reporting) และยกร่างคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยให้สอดคล้องกับรูปแบบฯ

2.2 ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบฯและผลการตรวจสอบร่างคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 9 คน ปรากฏผลคือ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ร่างรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมและคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมาตรฐานความเหมาะสม (Propriety Standard) และด้านมาตรฐานความเป็นไปได้ (Feasibility Standard) ในระดับมาก และร่างคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมาตรฐานความเหมาะสม (Propriety Standard) ในระดับมาก

2.3 ผลการปรับปรุงรูปแบบฯ และคู่มือประกอบการใช้รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สงกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรูปแบบฯมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) คณะกรรมการบริหารกิจการนักเรียน 2) ขอบข่ายงานกิจการนักเรียน และ 3) กระบวนการบริหารกิจการนักเรียน และได้ปรับปรุงคู่มือให้สอดคล้องกับรูปแบบฯ

ส่วนผลการทดลองใช้และการประเมินรูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระหว่างการดำเนินการวิจัย

คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียน, การมีส่วนร่วม

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study current conditions of participation in student affairs administration in primary schools under the jurisdiction of OBEC. 2) to develop a model for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC. 3) to tryout the model for participatory administration in student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC. 4) to evaluate the model for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC.

Research methodology consisted of four steps; Step 1) study of current conditions of participation in student affairs administration in primary schools under the jurisdiction of OBEC. The sample comprised school administrators, chief student affairs officers, parents, community leaders, local government organization representatives, experts, religious leaders from 381 schools. The total number of sample was 2,667. Also, the interview group consisted of 6 school administrators from the royal awarded schools during 2551-2552 B.E. using purposive selection technique. Step 2) development of model for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC using connoisseurship to examine feasibility, and suitability of model for participatory administration of student affairs and suitability of model manual. The Connoisseurship consisted of 9 experts whom were selected by purposive sampling. Step 3) the model for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC was tried out with a selected primary school. Step 4) evaluation of model for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC using 35 sample from experimental group by purposive selection. The study found that :

1. The current conditions of participation in student affairs administration in primary schools under the jurisdiction of OBEC. were described as follow:-

1.1 The current conditions of participation in student affairs administration in primary schools under the jurisdiction of OBEC were considered that 1) there should be an assembly or stakeholders participate in student affairs administration as an operating committee, and 2) level of participatory administration in student affairs were moderate in all 5 aspects of processes which were decision-making, planning, doing, checking, and action. Means of all student affairs activities were descended from student welfare, student counseling, and student development activities.

1.2 Student affairs administration concepts were 1) an assembly or stakeholders consist of (1) Operating Committee, Chief student affairs officers, teachers, and parent network. (2) Advisory Committee of OBEC and experts 2) Roles of Student Affairs (1) Operating Committee were Policy Formulation, Coaching, Support and Promote (2) Advisory Committee were Decision making, planning, doing, Checking, correcting and developing, and reporting. 3) Scope of major student affairs works consist of student welfare, student counseling, and student development activities.

2. Drafting model and its manual for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC consists of 3 sections which were 1) committee 2) scope of student affairs works 3) administration process. The examination results of trial and evaluation of model for participatory administration in student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC. Model manual for participatory administration of student affairs in primary schools under the jurisdiction of OBEC consist of 3 sections which were 1) committee 2) scope of student affairs works 3) administration process.

KEY WORDS : student affairs administration model, Participation

Article Details

How to Cite
โฉมฉาย โ., จันทร์บรรจง ฉ., จันทร์ศิลา ว., & กอนพ่วง อ. (2013). รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 13(3), 1–20. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9371
Section
Research Articles