รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล

Main Article Content

สุพจนีย์ พัดจาด
ฉันทนา จันทร์บรรจง
เถลิงศก โสมทิพย์
อนุชา กอนพ่วง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและข้อมูลประกอบการสร้างรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาวุโส และครูใหม่ โดยมีประชากร เป็นโรงเรียนสังกัดเทศบาลทั่วประเทศ จำนวน 901 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดเทศบาลทั่วประเทศ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 269 แห่ง ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายแล้วให้พนักงานครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละแห่งเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาวุโส และครูใหม่ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 807 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและข้อมูลประกอบการสร้างรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล โดยใช้วิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) ตามคุณสมบัติที่กำหนด 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนสังกัดเทศบาลที่มีผลงานการจัดการศึกษาดีเด่นในระดับประเทศและมีครูผู้ช่วย บรรจุใหม่ในปีการศึกษา 2553 ในคราวเดียวกันไม่ต่ำกว่า 10 อัตรา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย แบบประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อครูใหม่ โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 8 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ จำนวน 7 คน และ ครูใหม่ จำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล จากเทศบาล จำนวน 3 แห่ง แต่ละแห่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรี เทศบาลละ 1 คน ผู้บริหารสถานศึกษา เทศบาลละ 2 คน ครูพี่เลี้ยง เทศบาลละ 2 คน และครูใหม่ เทศบาลละ 2 คน รวมมีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ตลอดระยะเวลา 2 ปี จากผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ตามทรรศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาวุโส และครูใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายมาตรฐาน พบว่า ระดับความต้องการมากที่สุดในมาตรฐานที่ 10 การร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ และได้รับข้อมูลประกอบการสร้างรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล 2) รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ โครงสร้างคณะกรรมการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ วัตถุประสงค์ของการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของ ครูใหม่ บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สมรรถนะการปฏิบัติงาน วิธีการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงาน งบประมาณ และการกำกับติดตามและประเมินผล โดยผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล อยู่ในระดับมาก และ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของคู่มือการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของ ครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล มีความสอดคล้องในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล มีการดำเนินงานตามคู่มือการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อกระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและความพึงพอใจต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในระดับมาก 4) การประเมินรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นว่า การดำเนินงานตามคู่มือการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของรูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก ตามลำดับ

คำสำคัญ : การบริหารงาน, การเสริมสร้างสมรรถนะ, การปฏิบัติงาน, ครูใหม่

 

Abstract

The purpose of this research was to develop the model and enhance the performance competency of new teachers under municipal school. There were four main steps of the research: 1) Study the things needed to enhance the performance competency of new teachers under municipal school as viewed by school administrators, senior teachers, and new teachers. Gather the information and construct the management model on how to enhance the performance of the new teachers. There were 901 municipal schools. The sample schools were across the country. The samples were 269 municipal schools. It was assigned by Krejcie and Morgan. The samples were administrators, senior teachers, and new teachers who gave the information. They were 807 in all. It was implemented through questionnaires that help to enhance the performance competency of new teachers and the information to perform the model of enhancing the performance of new teachers under municipal school. It was analyzed by using percentage, average, and standard deviation. 2) Construction of the model of management to enhance the performance competency of new teachers under municipal school using Connoisseurship. The samples were consists of nine experts using Purposive selection. 3) Verification of the model of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school. The samples were municipal schools which have good education and have more than 10 new teachers in 2010. There were questionnaires about five-level scale type. There were three issues consisted to the model of enhancing the performance of new teachers under municipal school, the model of complacency to associate people to new teachers. There were 8 people who gave the information and seven committees who enhance the performance competency of new teachers .It was also analyzed using average, and standard deviation. 4) Evaluation of the model of management to enhance the performance competency of new teachers under municipal school using Focus Group Discussion. The people who were associated with helped in enhancing the performance competency of new teachers under municipal school. There were 3 municipal schools; each school consisted of one mayor, two administrators, two senior teachers, and two new teachers. They are 21 in all. The implementation was the model for suitable and possibility of using the model of management to enhance the performance competency of new teachers under municipal school for two years. It was analyzed using average, and standard deviation.

From the studies the result indicated various output as follows; 1) The study found that the need of enhance the performance competency of new teacher under municipal school as viewed by school administrators, senior teachers, and new teachers at good level. New teachers need to have the knowledge with cooperating with people in communities to improve quality of education and got information for construction of model of management to enhance the performance competency of new teachers under municipal school. 2) The constructing model of enhance  the performance competency of new teacher under municipal school consist of 7 composition: the structure of the committee who enhance the performance competency of new teacher, the purpose of management to enhance the performance competency of new teacher, the function of related people, the capacity of the performance competency, the method to enhance the performance competency, the budget and the persuade and evaluation. After the model was being tested, it was found that the evaluation was appropriate there would be high possibilities. 3) Testifying the model of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school. The implementation of the manual of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school was in very good level. Those involved have complacency in process of enhance the performance competency of new teacher and complacency in the performance competency of new teacher was in good level. 4) Analyzing the model of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school. The research findings were the implementation of the manual of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school is appropriate and possible. The model of management to enhance the performance competency of new teacher under municipal school was in very good level and good level.

Article Details

How to Cite
พัดจาด ส., จันทร์บรรจง ฉ., โสมทิพย์ เ., & กอนพ่วง อ. (2013). รูปแบบการบริหารงานเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูใหม่ ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล. Journal of Education and Innovation, 13(3), 57–78. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9384
Section
Research Articles