วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก

Main Article Content

ชัยพล กันศิริ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์การและระดับคุณภาพนักเรียนตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การและคุณภาพนักเรียนตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก และขนาดของสถานศึกษา และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เฉพาะโรงเรียนที่เคยสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า

1. วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก อยู่ในระดับมาก

2. สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาต่างกัน มีวัฒนธรรมองค์การไม่แตกต่างกัน แต่สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีวัฒนธรรมองค์การแตกต่างกัน (p< .05)

3. คุณภาพนักเรียนของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก อยู่ในระดับปานกลาง

4. คุณภาพนักเรียนของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาต่างกัน และมีขนาดต่างกัน มีความแตกต่างกัน (p< .05)

5. การแข่งขันทางวิชาการและด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน โดยสามารถพยากรณ์ได้ ร้อยละ 35.4 ซึ่งวัฒนธรรมองค์การทั้ง 2 ด้าน ส่งผลและสามารถพยากรณ์คุณภาพนักเรียนด้านความสามารถในการคิดและมีวิสัยทัศน์และด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ได้ร้อยละ 30.2 และร้อยละ 32.3 ตามลำดับ

 

Abstract

The research’s purposes are studying of organizational cultural level and studying the student quality for acknowledged level in secondary schools at Pitsanulok. These study are used for compared the organizational culture and the student quality for acknowledgement in the secondary schools at Pitsanulok by separated by location and size of school which are deflexed the student quality.

The research’s samples are 310 teachers who teach in the secondary schools at Pitsanulok which are governed by Department of General Education. The questionnaire, which is used to be tool in this research, is scale form for 5 levels. The statistic tools are the mean, standard deviation, variant with one tale and multiple regressions.

The result as the following;

1. High level organizational cultural in secondary schools at Pitsanulok.

2. The organizational culture are not different but the size has the effect for organizational culture (p < .05).

3. Medium level of student quality for secondary schools which are governed by Office of Basic Education Commission (OBEC).

4. The student quality depends on Office of Basic Education Commission (OBEC) and size (p < .05).

5. The competition and study course by using student to be center are the main factors which reflex the student quality. The forecast of student quality is 35.4 percentages. The forecast of student quality in vision and knowledge are 30.2 and 32.3 percentages respectively.

Article Details

How to Cite
กันศิริ ช. (2013). วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก. Journal of Education and Innovation, 13(3), 79–94. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9386
Section
Research Articles