ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

รัตนะ บัวสนธ์
สัญชัย ขาวนวล
บัญชา ศรีสมบัติ
วิโรจน์ มงคลเทพ
จารุนันท์ ขวัญแน่น

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างนิสิตจำนวน 405 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรมีพฤติกรรมสุขภาพด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล ด้านการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และด้านการป้องกันอุบัติเหตุ อยู่ในระดับดีดานการรับประทานอาหารและด้านการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง

2. ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ปัจจัยนำ และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ เฉพาะด้านการรับประทานอาหาร และด้านการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงชั้นระหว่างปัจจัยนำ (X1-X11) ปัจจัยเอื้อ(X12) และปัจจัยเสริม(X13-X15) กับพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (Y)ซึ่งนำปัจจัยเข้าสู่แบบจำลองทีละปัจจัย เมื่อนำปัจจัยนำ(X1-X11) เข้าสู่แบบจำลองเพียงปัจจัยเดียว พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง (X10) นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (X2) ผู้ปกครองอาชีพเกษตรกรรม(X6) และนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (X3) ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร(Y) โดยที่ปัจจัยนำ(X1-X11) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม(Y) ได้ร้อยละ 24.8 และได้สมการพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ในรูปสมการคะแนนมาตรฐานดังนี้

ZY = -.068 ZX1 + .168** ZX2 - .113* ZX3 + .011 ZX4 + .039 ZX5 + .140* ZX6 + .057 ZX7 + .008 ZX8 + .105 ZX9 + .250** ZX10 + .062 ZX11

เมื่อเพิ่มปัจจัยเอื้อ (X12) เข้าไปในแบบจำลอง พบว่า ปัจจัยเอื้อด้านสถานบริการและแหล่งความรู้ของมหาวิทยาลัย (X12) มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (Y) ทำให้ตัวแปรในกลุ่มปัจจัยนำลดลงเหลือเพียง การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง (X10) นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (X2) และนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(X3) โดยที่ปัจจัยนำ (X1-X11) และปัจจัยเอื้อ (X12) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม (Y) ได้ร้อยละ 26.1 และได้สมการพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (Y) ในรูปสมการคะแนนมาตรฐานดังนี้

ZY = -.055 ZX1 + .163** ZX2 - .120* ZX3 + .018 ZX4 + .032 ZX5 + .119 ZX6 + .032 ZX7 + .004 ZX8 + .093 ZX9 + .279** ZX10 + .043 ZX11 + .120* ZX12

และเมื่อเพิ่มปัจจัยเสริมเข้าไปในแบบจำลอง พบว่า ปัจจัยเสริมด้านกลุ่มบุคคลในครอบครัว(X13) มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (Y) ทำให้ตัวแปรในกลุ่มปัจจัยนำที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิต (Y) ลดลงเหลือเพียง การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง (X10) และนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (X2) และทำให้ปัจจัยเอื้อ (X12) ไม่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิต โดยที่ปัจจัยนำ (X1-X11) ปัจจัยเอื้อ (X12) และปัจจัยเสริม (X13-X15) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม(Y) ได้ร้อยละ 31.8 และได้สมการพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (Y) ในรูปสมการคะแนนมาตรฐานดังนี้

ZY = -.061 ZX1 + .201** ZX2 - .092 ZX3 - .025 ZX4 + .026 ZX5 + .111 ZX6 + .022 ZX7 - .005 ZX8 + .069 ZX9 + .275** ZX10 + .024 ZX11 + .008 ZX12 + .237** ZX13 + .036 ZX14 + .031 ZX15

คำสำคัญ : พฤติกรรมสุขภาพ, PRECEDE Framework

 

Abstract

This research was descriptive research that aims to 1) study the health behavior of Naresuan university students, 2) to study the relationship of the predisposing factors, enabling factors, and reinforcing factors with health behavior of Naresuan university students, 3) to study factors affect to health behavior of Naresuan university students, and 4) to create the regression equation of health behavior of Naresuan university students. The samples consisted of undergraduate students, Naresuan University, Phitsanulok. They enrolled in the second semester of the 2009 academic year. The totals of 405 students were selected as sample obtained by stratified random sampling. Data collected from questionnaire. The data were analyzed by SPSS for Windows to calculate percentage, mean, standard deviation, Pearson's correlation coefficient, and hierarchical multiple regression analysis. The findings were as follows:

1. Students have personal hygiene behavior, avoidance of health risk behavior, and safety behavior were at the good level.

2. The relationship between the predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors and overall health behavior of Naresuan university students were significant at .05 level, as it was found that the predisposing factors and reinforcing factors correlated with all aspects of health behavior were significant at .05 level. The enabling factors correlated with in only consumed behavior and the exercise behavior were significant at .01 level.

3. Factors affect health behavior of Naresuan university students that analyzed by hierarchical multiple regression analysis between the predisposing factors (X1-X11), enabling factors (X12), and reinforcing factors (X13-X15) with health behavior of Naresuan university students (Y). The model analysis showed that each factors added into the model, as only the predisposing factors, it was found that the perception of severity of illness from an incorrectly health behavior (X10), health science students (X2), parents engaged in agriculture (X6), and science and technology students (X3) affect overall health behavior of Naresuan university students (Y). The predisposing factors (X1-X11) can explain the variation of overall health behavior (Y) 24.8 percentages. The standardized regression equation of overall health behavior of Naresuan university students was:

ZY = -.068 ZX1 + .168** ZX2 - .113* ZX3 + .011 ZX4 + .039 ZX5 + .140* ZX6 + .057 ZX7 + .008 ZX8 + .105 ZX9 + .250** ZX10 + .062 ZX11

Next, the enabling factors(X12) added into the model showed that the facilities and resources of the university affect overall health behavior of Naresuan university students(X12). The variables of the predisposing factors(X1-X11) were dwindled that include the perception of severity of illness from an incorrectly health behavior(X10), health science students(X2), and science and technology students(X3). The predisposing factors(X1-X11) and enabling factors(X12) can explain the variation of overall health behavior(Y) 26.1 percentages. The standardized regression equation of overall health behavior of Naresuan university students was:

ZY = -.055 ZX1 + .163** ZX2 - .120* ZX3 + .018 ZX4 + .032 ZX5 + .119 ZX6 + .032 ZX7 + .004 ZX8 + .093 ZX9 + .279** ZX10 + .043 ZX11 + .120* ZX12

When the reinforcing factors (X13-X15) added into the model, the families’ supports (X13) affect overall health behavior of Naresuan university students (Y). The variables of the predisposing factors (X1-X11) were dwindled that include the perception of severity of illness from an incorrectly health behavior (X10) and health science students (X2), and the enabling factors (X12) didn’t affect overall health behavior of Naresuan university students (Y). The predisposing factors (X1-X11), enabling factors (X12), and reinforcing factors (X13-X15) can explain the variation of overall health behavior (Y) 31.8 percentages. The standardized regression equation of overall health behavior of Naresuan university students was:

ZY = -.061 ZX1 + .201** ZX2 - .092 ZX3 - .025 ZX4 + .026 ZX5 + .111 ZX6 + .022 ZX7 - .005 ZX8 + .069 ZX9 + .275** ZX10 + .024 ZX11 + .008 ZX12 + .237** ZX13 + .036 ZX14 + .031 ZX15

Key words : Health Behavior, PRECEDE Framework

Article Details

How to Cite
บัวสนธ์ ร., ขาวนวล ส., ศรีสมบัติ บ., มงคลเทพ ว., & ขวัญแน่น จ. (2013). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Education and Innovation, 13(3), 95–112. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9392
Section
Research Articles