การพัฒนารูปแบบการสอนที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนารูปแบบการสอน ที่ช่วยให้นิสิตครูบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาได้ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างแบบวัดแนวคิด แบบประเมินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการสอน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์เชิงบรรยาย และการตรวจสอบโดยสมาชิก ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและการพัฒนารูปแบบการสอนทำให้ได้ขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ 1) คุณค่าในตัวเอง 2) ละครการสอน 3) สังคมพอเพียง 4) สะท้อนผลเชิงบวก และ 5) อนุรักษ์การสอน และผลการติดตามการใช้รูปแบบการสอน พบว่า นิสิตครูมากกว่า 83 % มีแนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น นิสิตครูมากกว่า70% เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนรู้ได้ ซึ่งนิสิตครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีอย่างต่อเนื่อง ก็ต่อเมื่อนิสิตครูมีทักษะการสอนที่ดี อีกทั้งมีครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศที่มีเจตคติที่ดีต่อการบูรณาการ
Abstract
This research aimed to develop an innovative teaching model to promote pre-serviceteachers’ integration of the Sufficiency Economy Philosophy (SEP) for teaching science in school.Research instruments included semi-structured interviews, tests, a lesson-plan checklist andclassroom observation journal. Data were analyzed through content analysis, discourse analysis and member-checking. Analysis of SEP situations in school and developmental process of theinnovative teaching model indicated five steps of teaching that included 1) self-values 2)instructional drama 3) sufficiency society 4) positive reflection and 5) teaching conservation. Afterthese five steps had been implemented, 83% pre-service teachers (N=36) appeared tochangetheir conceptions about the SEP. Also, 70% pre-service teachers (N=11) were able to writelesson-plans illustrating integrations between the SEP and scientific contents/activities. The SEPintegration would be continued if the pre-service teachers had good teaching skills and hadcollaboratively in-service teachers and university supervisors holding positive attitude towards theintegration.
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.