การวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคล
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กับคณะศึกษาศาสตร์ โดยมุ่งศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาระบบการบริหารในรูปองค์คณะบุคคล ศึกษารูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลที่มีการปฏิบัติดีเด่นของประเทศไทยและในต่างประเทศ จัดทำข้อเสนอรูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคล ทั้งในเรื่องจำนวน องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ คุณสมบัติการสรรหาและวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ รวมถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับคณะบุคคลโดยเฉพาะวิธีการได้มา รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ข้อค้นพบที่สำคัญจากงานวิจัย ดังนี้ 1) องค์คณะบุคคลทั้ง 3 องค์คณะมีโครงสร้างขององค์คณะบุคคลที่เหมาะสม และการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ได้ในระดับมาก แต่พบปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างและการปฏิบัติหน้าที่ของ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นทีการศึกษา) สูงกว่า คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ก.พ.ท.) และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา(ก.ต.ป.น.) โดย อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ประสบปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง ในส่วนของอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ที่เป็นผู้แทนคุรุสภา ผู้แทน ก.ค.ศ. และผู้แทนครู และผู้บริหาร และมีการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่เน้นเพียงการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย พิจารณาความดีความชอบ และการประเมินวิทยฐานะ สำหรับ ก.พ.ท. พบปัญหามากในเรื่อง การให้ความเห็นชอบในการยุบรวม เลิกโรงเรียน และปัญหาสำคัญเชิงโครงสร้างที่กฎหมายไม่ได้ระบุอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับ กพฐ. ส่วน ก.ต.ป.น. มีอำนาจหน้าที่บางส่วนซ้ำซ้อนกับงานประจำของกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา และมีปัญหาที่เป็นเพียงโครงสร้างภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จึงเกิดปัญหาด้านความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานจากงานประจำของ สพท. 2) รูปแบบการบริหารโดยองค์คณะบุคคลในระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่เอื้อต่อการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาให้สามารถบริหารได้อย่างคล่องตัวและส่งผลต่อผู้เรียน ประกอบด้วย 4 รูปแบบ โดย รูปแบบที่ 1 มี 3 องค์คณะแยกกันเหมือนเดิม แต่เชื่อมโยงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ รูปแบบที่ 2 รวม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาและ ก.พ.ท. ส่วน ก.ต.ป.น. ร่วมกับสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา รูปแบบที่ 3 อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเหมือนเดิม แต่รวม ก.พ.ท. และ ก.ต.ป.น. เข้าด้วยกัน และรูปแบบที่ 4 รวม 3 องค์คณะเป็นองค์คณะเดียว โดยตั้งอนุกรรมการย่อยๆ ดำเนินการ เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแต่ละรูปแบบในประเด็นคุณลักษณ์ของความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างองค์คณะบุคคล เอกภาพในการบริหาร และการบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล พบว่า รูปแบบที่ 4 มีความเหมาะสมมากที่สุด ที่อาจเปลี่ยนแปลงคุณภาพการจัดการศึกษาของยุคการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
คำสำคัญ: การบริหารโดยองค์คณะบุคคล
Abstract
The Research and Development of Executive Committee System had beenundertaken in cooperation with the Office of the Education Council and Faculty ofEducation, Naresuan University. The research objectives aimed at studying thecurrent situation and problem of Executive Committee Systems; studying the bestpractice model of Executive Committees System both in Thailand and in theinternational; proposing the model of Executive Committees System whichconsisted of number, factor, responsibility, qualification, recruitment, position holdingperiod in the, relationship between executive committees mainly focused onrecruitment, and including proposing the recommendations for revising any relatedlaws and regulations.
The research results were as follows: 1) All three Executive Committeeshad an appropriate structure and responsibility, and performed their role at a highlevel but it found a problem in structure and responsibility of the Committees ofTeachers and Educational Personnel in Education Area which was higher than theBoard of Education Area and the Committees of monitoring, evaluation andsupervision in Education. By which the Committees of Teachers and EducationalPersonnel in Education Area will faced with specification of qualification ,recruitment, period of holding in the position, retirement from the position especiallysomeone who became the committees by position such as representative from theTeachers’ Council of Thailand, Office of the Teacher Civil Service and EducationalPersonnel Commission, teacher, and administrator which all those person haveresponsibility as attribution especially for who have the power of recruitment,appointment, position transfer, promotion, and assessment. Meanwhile, the Boardof Education Area found the consideration problem on centralize or dismissschools, the problem concerning of administrative structure, responsibility andpower which the law was not declared in accordance with the Office of the BasicEducation Commission of Thailand. For the Committees of monitoring, evaluationand supervision in Education found an overlap problem between routine and someresponsibility of the committees caused of the internal administrative structure of theOffice of the Basic Education Commission.
2) Executive Committees System in Basic Education Areas provided thedecentralization to schools in kind of the flexible administration which effected tostudents. Details can be shown into 4 models; for the first model, it consisted of 3independent Executive Committees but they were linked together withadministrative structure, authority and responsibility. The second model wasadapted from previous model by collapse two organizations into one; collapsing theCommittees of Teachers and educational personnel in Education Area and Board ofEducation Area, and collapsing the Committees of monitoring, evaluation andsupervision in Education and the Office of the Strategy Management.
For the third model, the Committees of Teachers and EducationalPersonnel in Education Area was stand independently but the Committees of monitoring, evaluation and supervision in Education and Board of Education Areawere collapsed together.
For the forth model, collapsing all three administrative committees into oneand appointed the subcommittees for operation. When consider the modeleffectiveness in facet of characteristics of relationship between executivecommittees, unity and Good governance of administration, we found that the forthmodel was the most suitable for being a new management model in order toenhance quality of educational management for the Second Decade of EducationReform.
Keyword: Executive Committees
Article Details
The owner of the article does not copy or violate any of its copyright. If any copyright infringement occurs or prosecution, in any case, the Editorial Board is not involved in all the rights to the owner of the article to be performed.